ลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการทำงานเป็นทีม ในรายวิชาแผนที่และการแปลความหมายแผนที่ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1

Authors

  • วิไลวรรณ วิไลรัตน์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จังหวัดยะลา 95000
  • สรียา หมัดอาด้ำ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จังหวัดยะลา 95000

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชาแผนที่และการแปลความหมายแผนที่ 2) เพื่อศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชาแผนที่และการแปลความหมายแผนที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาแผนที่และการแปลความหมายแผนที่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตารางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชาแผนที่และการแปลความหมายแผนที่ จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่ 1) ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของแผนที่ 2) ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของแผนที่ 3) องค์ประกอบของแผนที่ 4) สัญลักษณ์ในแผนที่ 5) มาตราส่วนแผนที่ 6) ทิศทาง 7) ความสูงและทรวดทรง และ          8) การกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนในรายวิชาแผนที่และการแปลความหมายแผนที่ แบบสอบถามความคิดเห็นจากการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ (P) โดยเทียบกับเกณฑ์กำหนดให้ผ่านเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 80 และสถิติทดสอบทีแบบ one sample t test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน มีนักศึกษาจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ตามที่กำหนด ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 มีคะแนนน้อยที่สุดเท่ากับ 14 คะแนน มีคะแนนมากที่สุดเท่ากับ 20 คะแนน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.2 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.32 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2) ทักษะการทำงานเป็นทีมที่เกิดขึ้นจาการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ นักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการทำงานเป็นทีมก่อให้เกิดความรักความสามัคคีระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม เนื่องจากมีการช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม ได้ฝึกการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนๆ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน แต่ในบางครั้งการทำงานร่วมกันอาจทำให้เกิดความขัดแย้งกันบ้างเนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกันและความรู้สึกไม่เท่าเทียมกันในการปฏิบัติงานกลุ่ม ซึ่งส่งผลให้นักศึกษาต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้งาน เรียนรู้การวางแผน และเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้งานสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

Downloads