ศึกษาวัฒนธรรมอาหารการกินของชาติพันธุ์ชาวเลอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต

Authors

  • นฤนาถ จีระมานะพงศ์ สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
  • พรรณวดี ขำจริง สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยเพื่อศึกษาการศึกษาวัฒนธรรมอาหารการกินของชาติพันธุ์ชาวเลอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ตผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมอาหารการกินของชาวเลอูรักลาโว้ยหมู่บ้านบ้านราไวย์ บ้านแหลมตุ๊กแก (เกาะสิเหร่) บ้านสะปำ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เครื่องมือประมงที่ชาวเลใช้คือ ไซและอวน บริเวณที่นำไซไปวางได้แก่ พื้นทราย แนวปะการังหรือกองหิน รอบเกาะ มีทั้งบริเวณน้ำตื้นและน้ำลึก ปลาที่จับได้ด้วยการใช้ไซ ได้แก่ ปลาข้างเหลือง ปลานกแก้ว ปลาสลิดหินทะเล ปลาตะมะ ปลากะพง ปลาเก๋า เป็นต้น อวน การจับปลาด้วยอวน นิยมทำให้ช่วงน้ำลง การหาหอย ชาวเลใช้เหล็กต่อยหอยจากโขดหินในเวลาน้ำลด การประกอบอาหารนิยมกินข้าวเป็นวัตถุดิบหลักและกับข้าวมีปลาเป็นอาหารหลัก ได้แก่ ปลาทอด แกงส้มปลา และมีการเก็บยอดผักบางชนิดจากป่าแถบชายเกาะ เช่น ยอดผักที่ใช้จิ้มน้ำพริก ขนมที่นิยมกินคือ ขนมหลาก้า ขนมจู่จุนและมีเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอาหารการกินของชาวเลอูรักลาโว้ยโดยเฉพาะสิทธิในการทำมาหากินวิถีการทำประมงพื้นบ้านดั้งเดิมที่เคยหากินตามเกาะแก่ง ท้องทะเลและหน้าหาด แต่ปัจจุบันพื้นที่เหล่านั้นถูกอ้างสิทธิ์ทับซ้อนด้วยกฎหมาย และมีการกีดกันโอกาสในการเข้าไปใช้ประโยชน์ เช่น การติดป้ายประกาศ ห้ามเข้า ห้ามจอดเรือ การขับไล่ การข่มขู่ และการถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยในระหว่างปีพ.ศ. 2553-2555 มีชาวเลในหลายๆ พื้นที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ จับกุมพร้อมยึดเรือ อุปกรณ์ทำมาหากิน และสัตว์น้ำ มีการพิจารณาการใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้าน จากข้อจำกัดที่ดังกล่าว ชาวเลต้องออกทะเลไปไกล และต้องดำน้ำในเขตน้ำลึกมากขึ้น เนื่องจากแหล่งทำมาหากินใกล้หมู่บ้านที่เคยทำมาหากินมาแต่ดั้งเดิมถูกประกาศเป็นเขตหวงห้ามทั้งจากการประกาศเขตอุทยาน จึงทำให้ชาวเลต้องปรับตัวในการทำมาหากินและเพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้

Downloads

Published

2019-03-14