การสร้างสรรค์แบรนด์และอัตลักษณ์องค์กรของกลุ่มอาชีพเครื่องเขินชุมชนวัดนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • เจษฎาภัทร์ พันธุ์มี สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ 50300
  • ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ 50300

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาและสร้างสรรค์แบรนด์ของกลุ่มอาชีพเครื่องเขินชุมชนวัดนันทาราม  2. เพื่อสร้างสรรค์
อัตลักษณ์องค์กรของกลุ่มอาชีพเครื่องเขินชุมชนวัดนันทาราม โดยเป็นงานวิจัยและพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ที่มุ่งศึกษาและวิเคราะห์
อัตลักษณ์องค์กรของกลุ่มอาชีพเครื่องเขินชุมชนวัดนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ก่อนทำการร่างรูปแบบเพื่อหาความต้องการของกลุ่ม และนำข้อมูลที่ค้นพบมาทำการออกแบบตราสัญลักษณ์และ
อัตลักษณ์องค์กร และนำเสนอผลงานการออกแบบให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการออกแบบอัตลักษณ์องค์กร และผู้เชี่ยวชาญด้านงานหัตถกรรมเครื่องเขิน ประเมินความพึงพอใจและความเหมาะสมของ จากนั้นพัฒนารูปแบบและทำต้นแบบสิ่งพิมพ์ คู่มือการใช้ออกแบบอัตลักษณ์องค์กร

จากการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปของชุมชนมีผลต่อการพัฒนาภาพลักษณ์ของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ทำให้เกิดมุมมองใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม จากการสร้างสรรค์แบรนด์และตราสัญลักษณ์ พบว่า ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจในแนวคิดจากดอกไม้มากที่สุด (x = 4.66) รองลงมาคือพรรณพฤกษา (x = 2.66) ความพึงพอใจในเรื่องด้านสีเหมือนกัน คือ สีดำ สีแดง และสีทอง (x = 5.00), ส่วนความต้องการตราสัญลักษณ์นั้นผู้ประกอบการมีความต้องการแนวคิดฮายดอกฮัก (ลายดอกของต้นยางรัก) เหมือนกัน (x = 5.00), และสุดท้าย/นอกจากนี้ด้านการสื่อสารอัตลักษณ์องค์กรผ่านลวดลายนั้น ผู้ประกอบการมีความต้องการลวดลายขูดหรือการฮายดอกมากที่สุด (x = 4.66 ) รองลงมาคือการลงรักปิดทอง (x = 4.00) จากนั้นออกแบบร่างและประเมินความพึงพอใจและความเหมาะสมของรูปแบบ 3 รูปแบบ โดยได้ผลภาพรวมในด้านการสร้างสรรค์ตราสัญลักษณ์จากค่าเฉลี่ยร้อยละ ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญเลือกรูปแบบที่ 1 มากที่สุด (ร้อยละ 100) ส่วนในภาพรวมด้านรูปแบบของอัตลักษณ์องค์กร ตัวอักษร สี และกราฟิกที่ใช้ ผู้เชี่ยวชาญเลือกรูปแบบที่ 1 มากที่สุด (ร้อยละ 100)  และภาพรวมในด้านการประยุกต์ใช้ในงานสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญเลือกแบบที่ 2 มากที่สุด (ร้อยละ 67) รองลงมาเลือกแบบที่ 1 (ร้อยละ 33) จากนั้นนำรูปแบบที่มีค่าคะแนนมากที่สุดมาพัฒนา สุดท้ายเพื่อจัดทำต้นแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และคู่มือการใช้ออกแบบอัตลักษณ์องค์กร ให้กับกลุ่มอาชีพเครื่องเขินชุมชนวัดนันทาราม

Downloads

Published

2019-03-19