การพัฒนาโมเดลการยอมรับทางการเงิน บริบท การซื้อขายหุ้นผ่านแอพพลิเคชัน Streaming บนมือถือ

Authors

  • จิตราพร บุญยงค์ สาขาการจัดการเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
  • อรพรรณ คงมาลัย สาขาการจัดการเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน บริบท การซื้อขายหุ้นผ่านแอพพลิเคชัน Streaming บนมือถือ โดยระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อได้มาซึ่งปัจจัยในเบื้องต้น (2) การสังเกตการณ์ของกระบวนการการทำธุรกรรมทางการเงิน บริบท การซื้อขายหุ้นผ่านแอพพลิเคชัน Streaming บนมือถือ (3) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทของงานวิจัยรวมทั้งหมดจำนวน 7 ท่าน และ (4) การวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ทั้งนี้ ผลการวิจัยสรุปโมเดลการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน บริบท การซื้อขายหุ้นผ่านแอพพลิเคชัน Streaming บนมือถือ โดยประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านการวัดความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย คุณภาพของข้อมูล คุณภาพของระบบ และคุณภาพของบริการ และ (2) ปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยง ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านระยะเวลา ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพการใช้งาน และ ความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัว ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนี้ สามารถนำมากำหนดแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบ รวมถึงเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์มาปรับใช้กับรูปแบบธุรกิจในตลาดทุน ให้สามารถตอบสนองตรงตามความเหมาะสมกับพฤติกรรมของกลุ่มนักลงทุน นำไปสู่การยอมรับการใช้บริการ ซื้อขายหุ้นผ่านแอพพลิเคชัน Streaming บนมือถืออย่างต่อเนื่อง

References

E.M. Rogers. (1962). Diffusion of Innovations. New York: Free Press of Glencoe.

F.D. Davis. (1985). Technology Acceptance Model: TAM.

F.D. Davis. (1989). Technology Acceptance Model: TAM.

W.H.D. Lone and E.R.M. Lean. (2003). The DeLone and McLean model of information systems success: A ten-year update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.

J. Lin, S. Xiao and Y. Cao. (2010). Predicting and explaining the adoption of mobile banking. In: Proceedings of the Annual Conference of China Institute of Communications 2010, China, p. 421-424.

I.M. Romi. (2015). Mapping e-banking models to new technologies. Journal of Internet Banking and Commerce, 20, 112.

M.M. Ayyash. (2015). Identifying information quality dimensions that affect customers satisfaction of e-banking services. Journal of Theoretical and Applied Information Technology, 82(1), 122-130.

B.M. Almohaimmeed. (2012). Customer behavior towards internet banking: A study of the dormant users of Saudi Arabia. University of Birmingham.

K.S. Namahoot and T. Laohavichien. (2015). Quality management and trust of internet banking in Thailand. International Journal of Scientific and Technology Research 4(9).

B. Mohammed, A.M.R. Al-Ghazali, R.M. Yusoff and A.Y. Mutahar. (2012). The factors impacting on customers’ decisions to adopt Internet banking. Banks and Bank Systems, 7(3), 33-50.

A.L. Zhao, S. Hanmer-Lloyd, P. Ward and M.M.H. Goode. (2008). Perceived risk and Chinese consumers’ internet banking services adoption. International Journal of Bank Marketing, 26(7), 505-525.

B.M. Achieng and B.K. Ingari. (2015). Factors influencing the adoption of mobile banking in Kenya’s commercial banks: A case of Kenya commercial bank (KCB) Kilindini branch. International Journal of Scientific and Research Publications, 5(10), 1-14.

C.K. Ayo, V.W. Mbarika and A.A. Oni. (2015). The influence of trust and risk on intention to use e-democracy in Nigeria. Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(6), 477-486

M.C. Lee (2009). Factors influencing the adoption of internet banking: An integration of TAM and TPB with perceived risk and perceived benefit. Electronic Commerce Research and Applications, 8(3), 130-141.

L. Zhihong and B. Xue. (2010). Influences of perceived risk and system usability on the adoption of mobile

banking service. In: Proceedings of the International Symposium on Computer Science & Computational Technology, China, p. 51-54.

A.A. Alexi. (2015). The interplay of trustworthiness and perceived risk and their influence on consumer’s acceptance of self-service technology innovations. Norwegian School of Economics Bergen, Autumn.

Downloads

Published

2018-03-19