พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Authors

  • หทัยรัตน์ หล่อศรี สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 80280
  • วิเชียร มันแหล่ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 80280

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 400 คน โดยเปิดตารางยามาเน่ที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.807 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลจากการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างของผู้ตอบแบบสอบถาม พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเพศหญิง อายุ 21 ปี ศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับชั้นปีการศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ใช้งานบ่อยที่สุดประเภท Facebook เป็นลำดับที่ 1 เลือก Line เป็นลำดับที่ 2 และเลือก YouTube เป็นลำดับที่ 3 Facebook เป็นการติดต่อสื่อสารแบบครบวงจร ความถี่การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ทุกวัน ระยะเวลาการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อครั้ง คือ 3-4 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่เข้าใช้  เครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ ช่วงเวลาว่าง กิจกรรมที่นิยมใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ เพื่อรับข้อมูล  ข่าวสารและความรู้ เครื่องมือที่ใช้เข้าเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ สมาร์ทโฟน/โทรศัพท์มือถือ สถานที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์บ่อยที่สุด คือ หอพัก และค่าใช้จ่ายในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเฉลี่ยต่อเดือน 200-400 บาท พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอันดับที่ 1 คือ ด้านความคิด มีค่าเฉลี่ย 4.11 รองลงมา คือ ด้านความรู้สึก มีค่าเฉลี่ย 4.08 และด้านการกระทำ มีค่าเฉลี่ย 3.96 สำหรับด้านความคิดนักศึกษามีระดับความคิดเห็นมากที่สุด

สรุปได้ว่า พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา 3 ลำดับแรก คือ Facebook Line และ YouTube ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรมีช่องทางการ ติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาให้หลากหลายโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม การนำเสนอ รวมทั้งการเรียนการสอนด้วย เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถทำให้เกิดแรงกระตุ้นได้ง่ายและสิ่งที่น่าสนใจคือ การบอกปากต่อปาก หรือกดแชร์แบ่งปันข้อมูลกันนั้นเอง ซึ่งคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน มักจะเชื่อคำพูดของบุคคลในกลุ่ม ตนเองมากกว่าการจะไปเชื่อโฆษณาโดยตรงนั่นเอง และยังเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์หรือแจ้งข่าวสารของมหาวิทยาลัยให้แก่นักศึกษาได้รับทราบด้วย

Downloads

Published

2018-03-01