การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2

Authors

  • จันชรี เยาดำ สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2560 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดโรงเรียน โดยใช้การเทียบตาราง ของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970 : 608) แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จำแนกตามตัวแปรเพศ วุฒิการศึกษา  และประสบการณ์การทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน ด้านตัวแปรขนาดโรงเรียน พบว่าขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา 2 แตกต่างกัน ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการแนะแนวการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัด ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Published

2018-03-01