การรับรู้สิทธิสวัสดิการด้านสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Authors

  • หมัดเฟาซี รูบามา สาขาวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
  • พาฝัน นิลสวัสดิ์ ดูฮาเมลน์ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
  • วราคม ผิวเหลือง สาขาวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวัดระดับการรับรู้สิทธิสวัสดิการด้านสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2) เปรียบเทียบการรับรู้สิทธิสวัสดิการด้านสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กับข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน  400 กลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าที (t-Test) และทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) 

ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี สถานภาพสมรส/อยู่ด้วย มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี โดยมีอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีรายได้ต่อเดือน 20,001 - 25,000 บาท และส่วนใหญ่ใช้บริการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยประชาชนมีระดับการรับรู้สิทธิสวัสดิการด้านสาธารณสุขพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 รองลงมาคือ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชนหรือการคุ้มครองด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ด้านสิทธิในการรักษาพยาบาล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49

นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีระดับการรับรู้สิทธิสวัสดิการด้านสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และสถานพยาบาลที่ใช้บริการเป็นประจำต่างกัน มีระดับการรับรู้สิทธิสวัสดิการด้านสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

Published

2018-03-01