การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่อาศัยอยู่ใน ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

Authors

  • วรัญญา เสริมไชยพัฒน์ สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • ศุภกาญจน์ แก้วศรีนวล สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • อุทัยวรรณ พิทักษ์จำนงค์ สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • นภดล นววิศิษฎ์กุล สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • วรรณภรณ์ บริพันธ์ สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • สัญชัย ลั้งแท้กุล สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงานเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการในพื้นที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 250 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, One-way ANOVA และ Pearson ‘R Correlation (R) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 69.88 มีอายุ 23-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.00 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 54.00 รองลงมาคือ สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 43.20 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 76.40 มีตำแหน่งพนักงานระดับปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 88.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.40 รองลงมาคือ ต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.40 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุงาน 2-4 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.40

ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่าภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับใช้งานบางโอกาสโดยมีค่าเฉลี่ย 3.22 หากพิจารณารายด้านพบว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเวลาทำงาน อยู่ในระดับใช้งานบ่อยครั้ง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.42 ขณะที่ การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่วนบุคคล อยู่ในระดับใช้งานบางโอกาส โดยมีค่าเฉลี่ย 3.06 ผลการศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.89  หากพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในเห็นด้วยระดับมาก โดยประสิทธิภาพด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพด้านผลการปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพด้านความถูกต้องในงานภายในเวลาที่กำหนด มีค่าเฉลี่ย 4.03, 3.94 และ 3.71 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่าพนักงานที่มีอายุแตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน  รายได้ และอายุงานแตกต่างกันประสิทธิภาพในการทำงานไม่แตกต่างกัน และพบว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการทำงาน และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเรื่องส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานในระดับมีความสัมพันธ์กันบ้างและมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม โดยมีค่า r = (-0.026) และ r = (-0.042) ตามลำดับ แสดงว่าถ้าพนักงานการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

Downloads

Published

2018-03-01