พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัย จังหวัดสงขลา

Authors

  • กนกนาฏ เอียดมาก สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • กนกวรรณ สุขโณ สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • จุฑาทิพย์ แดงเหมือน สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • สาวิตรี วงค์งาม สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • วรรณภรณ์ บริพันธ์ สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • สัญชัย ลั้งแท้กุล สาขาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมจำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ 2) ศึกษาพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนกับพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการศึกษาพฤติกรรมการสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้กำหนดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาดังนี้ 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 2) ปัจจัยสนับสนุนนวัตกรรม และ 3) พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมีสมมติฐานการวิจัย ดังนี้ 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ต่างกันมีพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างกัน และ 2) ปัจจัยสนับสนุนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา จำนวน 390 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทดสอบความสอดคล้องของแบบสอบถามด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha) ใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อบรรยายลักษณะข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง และปัจจัยสนับสนุนและพฤติกรรมนวัตกรรม ใช้สถิติเชิงอ้างอิง ใช้ t-test One-way ANOVA สถิติ f-test และค่าสถิติ Pearson’s Correlation (R) เพื่อทดสอบสมมติฐาน

ผลการศึกษาด้านประชากรศาสตร์พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.74 มีอายุ 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.18 รองลงมาคือ 31-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.90 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 54.87 เป็นบุคลากรประเภทสายงานสนับสนุนร้อยละ 66.41 และเป็นบุคลากรประเภทอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 33.59 กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ทำงาน ต่ำกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.90 และมากกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.10 มีรายได้ต่อเดือนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ต่ำกว่า 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 55.13 รองลงมาคือ 20,000-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.26 ผลการศึกษาปัจจัยสนับสนุนนวัตกรรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.90 ด้านที่มีคะแนนสูงสุด คือ การสนับสนุนของผู้บริหารด้านนวัตกรรม และแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรม ส่วนผลการศึกษาด้านพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.90 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีค่าความคิดเห็นระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย 3.95

ผลการทดสอบสมมุติฐานที่ 1 พบว่ายอมรับสมมติฐานที่ 1.2-1.4 และสมมติฐานที่ 1.6 คือพนักงานที่มีอายุ ประเภทบุคลากร ระดับการศึกษา และเงินเดือน แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมแตกต่างกัน และปฏิเสธสมมติฐานที่ 1.1 และ 1.5 คือ พนักงานที่มีเพศ และประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แตกต่างกัน การทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่ามีตัวแปรการสนับสนุนของผู้บริหารด้านนวัตกรรมในองค์กร (r = 0.68) บรรยากาศด้านการสร้างนวัตกรรมในองค์กร (r = 0.65) และแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นนวัตกรรม (r = 0.63) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม

Downloads

Published

2018-03-01