แนวโน้มการลาออกจากงานเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการ: กรณีศึกษา พนักงานสถานประกอบการในจังหวัดสงขลา

Authors

  • เจษฎา กิตติบุญญาทิวากร สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • รุ้งไพลิน เยาว์ดำ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • สุวพิชญ์ สังข์ชุม สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • วรรณภรณ์ บริพันธ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • เจษฎา นกน้อย สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มการลาออกจากงานเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนและแนวโน้มการลาออกจากงานเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานสถานประกอบการในจังหวัดสงขลา จำนวน 385 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-Way ANOVA และ Pearson's Correlation ผลการวิจัยพบว่า พนักงานสถานประกอบการที่มีอายุ จำนวนบุตร ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำธุรกิจแตกต่างกัน มีแนวโน้มการลาออกจากงานเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการแตกต่างกัน ขณะที่พนักงานสถานประกอบการที่มีเพศ สถานภาพ และระดับการศึกษาแตกต่างกันมีแนวโน้มการลาออกจากงานเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการไม่แตกต่างกัน และปัจจัยสนับสนุนในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการลาออกจากงานเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการในระดับปานกลาง ในทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยสนับสนุนด้านทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการลาออกจากงานเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการ ในระดับสูง ในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ ปัจจัยสนับสนุนด้านครอบครัว ด้านการเงิน และด้านความรู้ความสามารถ มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการลาออกจากงานเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการในระดับปานกลาง

Downloads

Published

2018-03-01