การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน วิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

Authors

  • ธนยศ กุลฑล สาขาวิชาโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22170
  • ปิยพร อิสสรารักษ์ สาขาวิชาโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22170
  • ฉลองชัย ธีวสุทรสกุล สาขาวิชาการศึกษาทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22170

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ที่ผ่านการเรียนวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจำนวน 382 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากมหาวิมหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และมีความเชื่อมั่นตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีการสกัดองค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบ ออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีทั้งหมด 10 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 38  ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนรวมคิดเป็นร้อยละ 62.146 คือ ความสามารถในการสอนของผู้สอน ความรู้พื้นฐาน/ความทันสมัยของเนื้อหา /และโอกาสการมีงานทำ บรรยากาศในการเรียน ฐานะผู้ปกครองและเพื่อนเรียน วินัยในการเรียน ทักษะพื้นฐานทางภาษาและการคำนวณ สภาพห้องเรียนและอุปกรณ์ช่วยบรรยาย การครองตนเอง การเลือกกลุ่มเพื่อนทำงานและการทราบประโยชน์ของวิชานี้ และการเป็นวิชาแกน ตามลำดับ โดยแต่ละองค์ประกอบอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 25.687, 7.034, 4.850, 4.395, 4.243, 3.839, 3.214, 3.148, 2.922 และ 2.813 ตามลำดับ การวิจัยพบว่าองค์ประกอบที่ 1 ความสามารถในการสอนของผู้สอน มีร้อยละความแปรปรวนมากที่สุด แสดงว่าส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมากสุด

Downloads

Published

2018-03-01