การศึกษากำลังผลิตติดตั้งสูงสุดของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Authors

  • เดชศักดิ์ดา ศุภเวที ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • วรรัตน์ ปัตรประกร ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

Abstract

งานวิจัยนี้ คือ การศึกษาหาค่ากำลังผลิตติตตั้งสูงสุดของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในอนาคต โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลังจากความไม่แน่นอนของแสงแดด ผ่านแบบจำลองการตอบสนองความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลังของภาคที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ความสัมพันธ์ของข้อมูลปฐมภูมิ 3 ชุดที่ใช้เป็นอินพุต (1) ข้อมูลกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนามาวิเคราะห์การเบี่ยงเบนของกำลังผลิตอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทุก 1 นาที (2) ข้อมูลตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2558 - 2579 (PDP2015) ซึ่งระบุจำนวนและกำลังผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆในระบบไฟฟ้ากำลังทั้งในปัจจุบันและที่จะติดตั้งเพิ่มเติมในอนาคต ข้อมูลเหล่านี้ร่วมกับข้อมูลพารามิเตอร์ของโรงไฟฟ้าแต่ละโรง (3) ข้อมูลลักษณะความต้องการไฟฟ้าของภาคในแต่ละช่วงเวลาพิจารณาร่วมกับข้อมูลคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด เพื่อเป็นเงื่อนไขการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา เอาท์พุตที่ได้จากการจำลอง คือ กราฟการเบี่ยงเบนความถี่ของระบบไฟฟ้าเมื่อเทียบกับเวลา ซึ่งจะทำให้ทราบถึงลักษณะการตอบสนองความถี่ของระบบ จากนั้นทำการประเมินกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคจากการเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาพบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพิจารณาทุก 5 ปี (ปี 2564-2579) จะสามารถติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ 425 เมกะวัตต์, 570 เมกะวัตต์, 710 เมกะวัตต์ และ 850 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 11-15 ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในทุกๆ ปี (พิจารณาที่ความต้องการไฟฟ้าของภาคในปี 2559 ที่ร้อยละ 10.97) โดยมีค่าความถี่สูงสุดที่ประมาณ 0.35-0.45 เฮิรตซ์ ท้ายสุดหากต้องการเพิ่มศักยภาพในการผลิตตั้งตั้งสามารถหาเเนวทางและมาตรการที่เหมาะสมได้แก่ การประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานเพื่อควบคุมคุณภาพไฟฟ้า การจัดสรรกำลังผลิตสำรองขั้นต้นให้เพียงพอและเหมาะสมกับสถานการณ์ การกำหนดพื้นที่ติดตั้งโรงไฟฟ้าเหมาะสมเพื่อลดการเบี่ยงเบนกำลังผลิต ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการคุ้มทุนและเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในอนาคตด้วย

Downloads

Published

2018-03-01