การศึกษาผลกระทบและกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคใต้ของประเทศไทย

Authors

  • ปัญญดา แก้วธวัชวิเศษ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • วรรัตน์ ปัตรประกร ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

Abstract

บทความนี้ทำการศึกษาเพื่อหาปริมาณกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคใต้โดยศึกษาผลกระทบเมื่อมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบไฟฟ้ากำลังของภาคใต้ในประเทศไทยโดยพิจารณาจากการตอบสนองความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลังของภาคใต้  ศึกษาผลกระทบของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต่อการตอบสนองความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลังในภาคใต้ ได้ดำเนินการผ่านแบบจำลองการตอบสนองความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลังของภาคใต้ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ข้อมูลกำลังผลิตจริงของโรงไฟฟ้าตัวอย่างในปัจจุบัน และโรงไฟฟ้าที่จะติดตั้งเพิ่มในอนาคตตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2558 - 2579 (PDP2015)  ซึ่งประกอบไปด้วย จำนวนและกำลังผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าชนิดต่างๆ รวมทั้งข้อมูลพารามิเตอร์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  จากนั้นจึงจำลองการเบี่ยงเบนความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลังของภาคใต้ที่เกิดจากการเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบตามแผน PDP2015 พร้อมทั้งทำการประเมินกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนความถี่ของระบบ ผลการจำลองการตอบสนองความถี่และการเบี่ยงเบนความถี่เพื่อกำหนดปริมาณกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคใต้ในอีก 20 ข้างหน้าโดยพิจารณาทุก 5ปีคือ 510 เมกะวัตต์, 595 เมกะวัตต์, 670 เมกะวัตต์ และ 750 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15.9-16.7% ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุด โดยมีความถี่สูงสุดที่ประมาณ 0.42-0.49 เฮิรตซ์ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเมื่อมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น การติดตั้งระบบการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงความคุ้มทุนในการลงทุนด้วย

Downloads

Published

2018-03-01