กำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย

Authors

  • พรพรรณ เสาเสนา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • วรรัตน์ ปัตรประกร ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

Abstract

งานวิจัยนี้นำเสนอกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยพิจารณาผลกระทบจากความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ฤดูกาล รวมทั้งภูมิประเทศในการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ดำเนินการศึกษาผ่านแบบจำลองตอบสนองความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลังของประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคตะวันออกของประเทศไทยที่เกิดขึ้นจริงในปี 2559 ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุก 1 นาที และจำนวนโรงไฟฟ้าที่ติดตั้งเพิ่มในอนาคตตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2015)  ซึ่งประกอบไปด้วย จำนวนและกำลังติดตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวมทั้งข้อมูลพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงจำลองการเบี่ยงเบนความถี่ของระบบไฟฟ้ากำลัง พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์การเบี่ยงเบนความถี่ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคตะวันออกของประเทศไทย การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ควรคำนึงถึงการเบี่ยงเบนความถี่ที่จะเกิดขึ้นกับระบบในกรณีที่เกินค่าควบคุมปกติที่ 50±0.2 เฮิรตซ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้ากำลังของประเทศ หากไม่ได้รับการควบคุมและป้องกันที่เหมาะสม โดยอาจใช้ระบบการควบคุมอัตโนมัติ (AGC) มาช่วยเพื่อให้การเบี่ยงเบนความถี่ลดลง ทำให้สามารถกลับมาที่ค่า 50 เฮิรตซ์ได้ในเวลาเร็วที่สุด ทั้งนี้ในการกำหนดปริมาณการผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคตะวันออกของประเทศไทยในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าตามแผน PDP2015 ยังควรคำนึงถึงความถี่เบี่ยงเบนสูงสุดที่จะเกิดขึ้น และจำนวนครั้งที่เกิดความถี่เบี่ยงเบนเกินค่าควบคุมปกติที่ 50±0.2 เฮิรตซ์ เพื่อเป็นการควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าของประเทศ

Downloads

Published

2018-03-01