ประสิทธิภาพของน้ำมันกานพลูในการสลบปลานิล (Oreochromis niloticus)

Authors

  • วิจิตรา ตุ้งซี่ โปรแกรมวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • ณัฐพล ราชูภิมนต์ โปรแกรมวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

Abstract

ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันกานพลูในการสลบปลานิลขนาด 5, 10, 15 และ 20 ซม. ทำการทดลองโดยแบ่งความเข้มข้นออกเป็น 15, 20, 40, 60, 80 และ 100 ppm แต่ละความเข้มข้น ทำการทดลอง 3 ซ้ำ จากผลการศึกษาพบว่าระดับความเข้มข้นของสารละลายน้ำมันกานพลูที่เหมาะสมต่อการสลบปลานิลในแต่ละขนาดมีความแตกต่างกัน ปลานิลขนาด 5 ซม. สามารถสลบได้ที่ความเข้มข้น 40, 60, 80 และ 100 ppm เวลาที่ใช้นำสลบ 126.73±44.51, 87.13±23.59, 100.93±17.79 และ 51.67±9.74 วินาที ตามลำดับ (P<0.05) และเวลาสลบจนฟื้น 73.20±29.58, 112.33±33.31, 145.87±28.98 และ 167.53±26.02 วินาที ตามลำดับ (P<0.05) ในปลานิล 10 ซม.สามารถสลบได้ที่ความเข้มข้น 40, 60, 80 และ 100 ppm เวลาที่ใช้นำสลบ 321.14± 152.93, 103.73±33.10, 49.80±10.46,  80.40±31.50  และ 80.53±34.12 วินาที ตามลำดับ (P<0.05) และเวลาสลบจนฟื้น 129.43±111.13, 128.40±45.90, 159.07±26.03, 230.73±103.69 และ 237.08±53.75 วินาที ตามลำดับ (P<0.05) ในปลานิล 15 ซม.  สามารถสลบได้ที่ความเข้มข้น  40, 60, 80 และ 100 ppm เวลาที่ใช้นำสลบ 311.93±121.18, 222.00±64.37, 124.33±40.10 และ 117.13±33.74 วินาที ตามลำดับ (P<0.05) และเวลาสลบจนฟื้น 113.07±22.05, 169.40±32.01, 198.00±51.16 และ 219.73±55.44 วินาที ตามลำดับ (P<0.05)  แต่ในปลานิลขนาด 20 ซม. สามารถสลบได้ที่ความเข้มข้น 60, 80 และ 100 ppm เวลาที่ใช้นำสลบ 201.47±63.38, 211.53±32.74 และ164.07±43.95 วินาที ตามลำดับ (P<0.05) และเวลาสลบจนฟื้น 134.87±74.14, 153.07±56.11 และ 224.60±126.77 วินาที ตามลำดับ (P<0.05) เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงหลังจากนำออกจากถังสลบ พบว่าปลานิลทั้งสี่ขนาดมีอัตราการรอดตาย 100%  จากการทดลองวิเคราะห์คุณภาพน้ำ พบว่า ชุดควบคุม มีพีเอช ความเป็นด่าง ความกระด้าง ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และอุณหภูมิเท่ากับ 6.66, 56.67 มิลลิกรัมต่อลิตร, 25.00 มิลลิกรัมต่อลิตร, 7.83 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 26.00 องศาเซลเซียส ตามลำดับ สำหรับชุดการทดลองอื่นๆ ที่ใส่สารละลายน้ำมันกานพลูในระดับความเข้มข้นต่างๆ มีค่าพีเอชเพิ่มขึ้น (7.00) ความเป็นด่างลดลง (34.00 มิลลิกรัมต่อลิตร) ออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง (2.00-5.50 มิลลิกรัมต่อลิตร) ความกระด้าง และอุณหภูมิไม่แตกต่างจากชุดควบคุม ดังนั้น ถ้าใช้สารละลายน้ำมันกานพลูความเข้มข้นสูง จะส่งผลให้ใช้ระยะเวลาน้อยในการชักนำให้สลบ และสามารถสลบได้เป็นระยะเวลานาน

Downloads

Published

2018-03-01