การพัฒนาชุดทดลองการโพลาไรเซชันของแสงโดยใช้สมาร์ทโฟน

Authors

  • อาทิตย์ หมวดคงจันทร์ สาขาวิทยาศาสตรศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • ประสงค์ เกษราธิคุณ สาขาวิทยาศาสตรศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • สุวิทย์ คงภักดี สาขาวิทยาศาสตรศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

Abstract

การศึกษาการโพลาไรเซชันของแสงและกฎของมาลุส โดยใช้ชุดทดลองการโพลาไรเซชันของแสงโดยใช้สมาร์ทโฟน(Smartphone) ที่สามารถติดตั้งได้ง่ายและมีราคาถูก มีอุปรณ์การทดลองประกอบด้วย ตัวโพลาไรเซอร์ที่ได้จากฟิล์มโพลาไรซ์ของสมาร์ทโฟนรุ่นเก่า แหล่งกำเนิดแสงโพลาไรซ์จากหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบพกพา อุปกรณ์สำหรับจับและหมุนสมาร์ทโฟน และสมาร์ทโฟนในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) โดยสมาร์ทโฟนที่เลือกใช้ต้องมีเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่จำเป็นสองส่วนประกอบด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดแสง (Light Sensor) กับเซ็นเซอร์ตรวจวัดการหมุน (Orientation Sensor) และใช้แอปพลิเคชัน Physics Toolbox Sensor Suite ในการวิเคราะห์ จากการศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตัวของสมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ จึงได้เลือกใช้สมาร์ทโฟนในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รุ่น Vivo V5s Samsung Galaxy S5 และ Oppo A37 ในการทดลองได้วางสมาร์ทโฟนห่างจากแหล่งกำเนิดแสงโพลาไรซ์ที่ระยะ 2 5 10 15 และ 20 เซนติเมตร พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมุมของการโพลาไรซ์กับค่าความเข้มแสงโพลาไรซ์ตั้งแต่มุม 0 องศา ถึง 90 องศา มีความสอดคล้องกับกฎของมาลุส ที่ระยะ 15 เซนติเมตร เมื่อทดลองกับสมาร์ทโฟนทั้ง 3 รุ่น คือ Vivo V5s Samsung Galaxy S5 และ Oppo A37  ผลการทดลองมีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเมื่อเทียบกับกฏของมาลุส เท่ากับ 1.19 0.01 1.32 0.01 และ 1.62 0.01 และ มีค่า  R-Squared (R2) เป็น 0.9978 0.9978 และ 0.9985 ตามลำดับ

Downloads

Published

2018-03-01