การสร้างข้อมูลสามมิติพ้อยท์คลาวด์จากภาพถ่ายในโทรศัพท์มือถือเพื่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและพื้นที่

Authors

  • อภินันท์ สีม่วงงาม สาขาวิชาการจัดการผังเมือง คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา 30000

Abstract

การสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายดิจิตอลจึงมีบทบาทในการเข้ามาเป็นเครื่องมือในการช่วยสำรวจโดยมิได้สัมผัสกับตัววัตถุโดยตรงผ่านกระบวนการทางเทคนิคที่เรียกว่าดิจิตอลโฟโตแกรมเมตรี  ทำให้ผู้สำรวจสามารถวัดระยะหรือขนาดจากรูปถ่ายดิจิตอลผ่านโปรแกรมประยุกต์ในคอมพิวเตอร์ได้ และเทคนิคทางโฟโตแกรมเมตรียังสามารถทำการประมวลผลจากภาพถ่ายดิจิตอลเป็นข้อมูลสามมิติกลุ่มเมฆ หรือข้อมูลสามมิติแบบพ้อยท์คลาวด์(Point Cloud) ของวัตถุ อาคาร หรือพื้นที่ที่ต้องการสำรวจรังวัดนั้นๆ ทำให้กระบวนการอนุรักษ์สามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็วและแม่นยำ แบบจำลองสามมิติแบบกลุ่มเมฆจึงมีบทบาทสำคัญในการเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่จริง ณ ช่วงเวลานั้น โดยที่ผู้เก็บข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนอนุรักษ์ การออกแบบและพัฒนาสถาปัตยกรรมหรือชุมชน ทั้งนี้ข้อมูลแบบสามมิติแบบพ้อยท์คลาวด์เมื่อทำการสำรวจ บันทึกในแต่ละช่วงเวลาก็สามารถเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของงานสถาปัตยกรรม หรือลักษณะทางภูมิประเทศของชุมชนได้

ในขณะที่ปัจจุบันเทคโนโลยีการถ่ายภาพได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้คนทั่วไปนั้นสามารถบันทึกข้อมูลเชิงพื้นที่ของหลากหลายสถานที่ในแต่ละช่วงเวลาผ่านทางโทรศัพท์มือถืออยู่ตลอดเวลาจึงมีความเป็นไปได้ในการสร้างข้อมูลสามมิติพ้อยท์คลาวด์จากภาพถ่ายที่ได้จากโทรศัพท์มือถือ  ดังนั้นบทความนี้จะแสดงกระบวนการสร้างข้อมูลสามมิติแบบกลุ่มเมฆขึ้นมาจากภาพถ่ายด้วยโทรศัพท์มือถือผ่านโปรแกรมประยุกต์ในคอมพิวเตอร์เพื่อการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการสำรวจรังวัดเพื่องานอนุรักษ์ทางสถาปัตยกรรมและพื้นที่ต่อไป

Downloads

Published

2018-03-01