การพัฒนาระบบจัดเก็บสารสนเทศ โดยโปรแกรมสำเร็จรูป SENAYAN กรณีศึกษา ผลงานนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Authors

  • จันทรวิมล สะแหล๊ะ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 80280
  • กนิษฐา อูเซ็ง สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 80280
  • ศิริญาพร ปรีชา สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 80280

Abstract

การพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษา (2) ออกแบบและพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษา และ (3) ประเมินประสิทธิภาพของการทำงานของระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษา โดยครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ (Functional Requirement Test) ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) และด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)

 ในการพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการตามหลักการของวัฎจักรการพัฒนาระบบงาน (System development Life Cycle : SDLC) โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษา รวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานระบบด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 63 คน ในระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษา โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SENAYAN ซึ่งรองรับมาตฐานสำหรับการลงรายการบรรณานุกรมและเอกสารดิจิทัล รวมทั้งรองรับการทำงานผ่านเว็บไซต์ อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ส่วนในระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิภาพของการทำงานของระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษาดำเนินการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรในการวิจัยครั้งนี้

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานของนักศึกษาครั้งนี้ จัดเก็บผลงานของนักศึกษารวมทั้งสิ้น 120 รายการ ซึ่งประกอบด้วย รายงานการวิจัย รายงานการศึกษาอิสระ และรายงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จากนักศึกษา 2 รุ่น ได้แก่ นักศึกษารหัส 55 และรหัส 56 จากผลการทดสอบระบบและการประเมินประสิทธิภาพของการทำงานของระบบในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดีทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบอยู่ในระดับดี ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบอยู่ในระดับดี ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบอยู่ในระดับดี และด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบอยู่ในระดับดี

Downloads

Published

2018-03-01