ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการแข่งขันต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ 3

Authors

  • ภพธร วิเชียรกร
  • สุพินดา เลิศฤทธิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการแข่งขัน (Team Game Tournament Technique: TGT) ต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ 3 และเพื่อสารวจความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการแข่งขันต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ประชากรคือนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 3 ของโรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก จานวน 18 ห้องเรียน จานวนทั้งหมด 606 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง โดยเลือกนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 3 ห้องที่มีการคละกันของระดับคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุด จานวน 1 ห้องเรียน ได้จานวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในในงานวิจัยนี้ มี 3 ชนิด คือ 1) แบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่องค่าสูงสุดสัมบูรณ์ การอินทิเกรตและพื้นที่ใต้โค้ง 2) แผนการสอนและแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษท้ายชั่วโมงเรียนที่มีการแข่งขัน TGT และ 3) แบบสอบถามเพื่อสารวจความคิดเห็นของนักเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการใช้เครื่องมือและวิธีการในการวิจัยด้วยการเปรียบเทียบผลสอบก่อนการทดลองกับผลสอบหลังการทดลอง มีระยะดาเนินการวิจัย 6 สัปดาห์ และเก็บรวบรวมข้อมูลคะแนนการสอบก่อนเรียน คะแนนสอบหลังเรียน ผลสารวจความคิดเห็นของนักเรียน จากนั้นนามาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ t-score ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการแข่งขัน ผ่านการใช้แบบทดสอบที่เป็นภาษาอังกฤษ หลังเรียน (5.45) สูงกว่าก่อนเรียน (4.33) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สาหรับความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้กิจกรรมกลุ่ม TGT ผ่านการใช้แบบทดสอบที่เป็นภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (x̅ = 4.17, S.D. = 0.81)

Downloads

Issue

Section

Digital Learning and Services Design