แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในจังหวัดกระบี่

Authors

  • เย็นจิต นาคพุ่ม
  • ชไมพร พาหุกาญจน์
  • เจษฎา ร่มเย็น

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยว ศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่มีต่อช่องทางการจัดจาหน่ายของที่ระลึกในจังหวัดกระบี่ และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาช่องทางการจัดจาหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในจังหวัดกระบี่ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงผลิตภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ คือ เรือหัวโทงจาลอง และเก็บตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่จานวน 400 ราย ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนังงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,000-20,000 บาท ด้านทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่มีต่อช่องทางการจัดจาหน่ายทางตรง คือ นักท่องเที่ยวให้ความสาคัญกับการจาหน่ายผ่านศูนย์ผลิตของที่ระลึกมากที่สุด รองลงมาคือการจัดจาหน่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ส่วนช่องทางการจัดจาหน่ายที่นักท่องเที่ยวให้ความสาคัญน้อยที่สุด คือ การจาหน่ายผ่านทางโทรศัพท์ ด้านการจัดจาหน่ายผ่านช่องทางอ้อม นักท่องเที่ยวให้ความสาคัญกับการจาหน่ายผ่านร้านขายของที่ระลึกในแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือการจาหน่ายผ่านร้านขายของฝากที่อยู่ในจังหวัดกระบี่ ส่วนช่องทางการจัดจาหน่ายที่นักท่องเที่ยวให้ความสาคัญน้อยที่สุด คือ การจัดจาหน่ายที่สถานีขนส่งผู้โดยสารในจังหวัดกระบี่ แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจาหน่ายจากผลการวิจัย ผู้ผลิตเรือหัวโทงจาลองควรเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่ายที่ถนนคนเดินจังหวัดกระบี่และโรงแรงในจังหวัดกระบี่

Downloads