การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ในรายวิชาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์โดยการประยุกต์ใช้ระบบการทดสอบด้วยอิเล็กทรอนิกส์และการสอนแบบปกติ

Authors

  • กาญจนา หฤหรรษพงศ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระหว่างกลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้ระบบการสอบด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนกับกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนแบบปกติ ในรายวิชา ICT-352 ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ หัวข้อ การขายออนไลน์ และระบบประมูลออนไลน์ ของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมทั้งใช้แบบสอบถามออนไลน์เพื่อสารวจความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการนาระบบ E-testing มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าว วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปในการคานวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสถิติแบบ Independent T-Test ผลการวิจัยพบว่าผลการทดสอบค่าเฉลี่ยของคะแนนในการสอบของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม จานวน 3 ครั้ง พบว่าคะแนนในการทาบททดสอบครั้งที่ 1 และ 2 ของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (t = -0.041, p>0.05 ; t=0.248, p>0.05) ในขณะที่การสอบครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการทดสอบเนื้อหารวมของทั้ง 2 ครั้งแรก พบว่าผลสัมฤทธิ์ในการเรียนในกลุ่มทดลองที่มีการประยุกต์ใช้ระบบการทดสอบด้วยอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่ากลุ่มควบคุมที่มีการสอนแบบปกติ (t = 2.283, p<0.05) ผลจากการตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง จานวน 19 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 11 คน (ร้อยละ 57.89) ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 2.00-2.50 จานวน 12 คน (ร้อยละ 63.16) ระดับความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ระบบ E-Testing ในรายวิชา พบว่าความพึงพอใจในการใช้งานระบบในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก เท่ากับ 4.06 โดยผลคะแนนในหัวข้อที่ได้คะแนนความพึงพอใจสูงสุด คือ ประเด็นการแสดงผลคะแนนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ได้คะแนนเท่ากับ 4.16 รองลงมา คือ ความถูกต้องรวดเร็วในการประมวลผล ได้คะแนน 4.11 และการใช้งานง่าย เท่ากับ 4.05 ตามลาดับ ส่วนการเปรียบเทียบประเด็นความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการเรียนที่มีการประยุกต์ใช้งานระบบ E-Testing กับวิธีการเรียนแบบเดิมที่ไม่มีการใช้ระบบ E-Testing ในภาพรวมพบว่าผลคะแนนความพึงพอใจที่มีต่อการสอนแบบที่มีการนาระบบ E-Testing มาประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับมาก (4.06) ส่วนการสอนแบบเดิมที่ไม่มีการใช้ระบบ E-Testing อยู่ในระดับปานกลาง (3.28) โดยประเด็นที่ได้ผลคะแนนสูงสุด คือ ผู้เรียนสามารถตรวจสอบผลคะแนนการสอบได้ด้วยตนเอง ทาให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น และความน่าเชื่อถือของระบบ ด้วยคะแนน 4.16 4.05 และ 4.05 ตามลาดับ

Downloads

Issue

Section

Digital Learning and Services Design