กระบวนการมีส่วนร่วมของการพัฒนาการให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยาง กรณีศึกษาเมืองพัทยา

Authors

  • ภาวิณี เอี่ยมตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี 12121
  • สรารัตน์ ฉายพงษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี 12121
  • วิภาวี กิตติเธียร Mayday 253 อาคารอโศกชั้น 25 ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร 10110
  • จิรวรรณ คล้ายลี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี 12121

Abstract

ภายใต้การพัฒนาเมืองและการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้เกิดการยอมรับของภาคส่วนต่าง ๆ ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละพื้นที่เมือง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ได้ ดังนั้นการระดมความคิดเห็นถือเป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญในการรวบรวมปัญหา ข้อคิดเห็น ข้อกังวลจากภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ โดยรูปแบบของการสร้างการมีส่วนร่วมนั้นจะใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยจะได้ทำการเชิญผู้แทนจากหลายภาคส่วนในการให้ความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการใช้ระบบรถเมล์ไฟฟ้าในพื้นที่เมืองพัทยา โดยผลจากการดำเนินการประชุมรับฟังความคิดเห็นนั้นจะได้ออกเป็นกรอบแนวทางและข้อพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบรถเมล์ไฟฟ้าในอนาคต โดยกลุ่มที่ดำเนินการจัดประชุมกลุ่มย่อยได้แก่ (1) ผู้แทนภาครัฐ อันได้แก่ ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร (สนข.) ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจราจร (2) ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถในระดับท้องถิ่น (3) ภาคประชาชน โดยการสร้างการมีส่วนร่วมนั้นจะดำเนินการสร้างอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่ได้ดำเนินโครงการ

Downloads