แนวทางการกำหนดนโยบายที่เป็นไปได้สำหรับรถโดยสารโทรลลีล้อยาง กรณีศึกษาเมืองพัทยา

Authors

  • ธนภูมิ วงษ์บำหรุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
  • ภาวิณี เอี่ยมตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี 12121
  • จิรวรรณ คล้ายลี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี 12121

Abstract

ตามแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มการจ้างงาน ยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชน ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองพัทยาที่มีศักยภาพในการต่อยอดสู่พื้นที่เศรษฐกิจ ชั้นนำของเอเชีย เนื่องจากสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก การผลักดันโครงข่ายคมนาคมขนส่งสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองและส่งเสริมรูปแบบการเดินทางของประชาชนด้วยการใช้รถโดยสารโทรลลีล้อยางได้นำมาพิจารณาปรับใช้ เพื่อให้สามารถวางแผนรูปแบบการขนส่งในพื้นเมืองเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยทบทวนแผนงาน นโยบาย หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เมืองพัทยาด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตและสมภาษณ์เชิงลึก ผลจากศึกษาพบว่าเมืองพัทยามีความคล่องตัวเนื่องจากเป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่สามารถวางนโยบายการเดินรถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยางได้ด้วยตนเองจากอำนาจหน้าที่ในการบริหารโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้มีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุม 6 ประเด็น หลักได้แก่ 1)สนับสนุนการใช้รูปแบบการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะในเขตพื้นที่เมืองโดยเชื่อมโยงเส้นทางรถโดยสารโทรลลีล้อยางกับโครงข่ายเส้นทางคมนาคมหลักหรือรูปแบบอื่นๆ  2) วางแผนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวในพื้นที่เลียบชายหาดพัทยาหรือพื้นที่สิทธิพิเศษ เพื่อหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยที่รัฐต้องสนับสนุนขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพรองรับไว้ให้ประชาชน เชื่อมโยงได้ทุกรูปแบบ 3) วางแผนการจัดการจุดรับ-ส่งผู้โดยสารรถโทรลลีล้อยาง 4) ใช้กลไกการจัดเก็บที่จอดรถยนต์ในราคาสูง หรือจัดพื้นที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคลในพื้นที่เขตเมืองพัทยาให้น้อยลง 5) เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการรถโดยสารโทรลลีล้อยาง และ 6) สร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกกลุ่ม ให้หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ  ซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานและคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้

Downloads