ประยุกต์ใช้วิธีการแสดงผลตอบสนองแบบโครงร่างพื้นผิวเพื่อพัฒนาการย้ายปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80

Authors

  • สุกัลยา ภู่ทอง คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
  • ณราพรณ์ เปี่ยมสุวรรณวรา คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000

Abstract

สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 เป็นพืชเมืองหนาวที่นิยมปลูกมากในประเทศไทย เนื่องจากสามารถให้ผลผลิตได้แม้ปลูกในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นเทคนิคการขยายพันธุ์พืชที่นิยมใช้เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ของสตรอเบอรี่ เพราะต้นพืชที่ได้มีความแข็งแรง ปลอดโรค และแมลง รวมทั้งมีลักษณะที่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามต้นพันธุ์ที่ได้เมื่อนำมาย้ายปลูกมักจะมีอัตราการรอดต่ำ และมีการเจริญเติบโตที่ช้า ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการย้ายปลูกต้นพันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 โดยทำการศึกษาผลของการจุ่มต้นพืชในน้ำฆ่าเชื้อ และการฉีดพ่นสารสารไตโคซานและไตรโคเดอร์ม่าเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นพืชหลังจากการทำการย้ายปลูกและขนาดต้นพืชที่ใช้ในการย้ายปลูก จากผลการทดลองพบว่าการใช้สารไคโตซานและไตรโคเดอร์ม่านั้นมีผลต่อคุณภาพของต้นพันธุ์ที่ได้จากการย้ายปลูก การจุ่มต้นพืชในน้ำยาฆ่าเชื้อไม่มีผลต่ออัตราการรอด และการเจริญเติบโตต้นพืช ในขณะที่การใช้ต้นพืชที่มีขนาดใหญ่จะช่วยให้มีอัตราการอด และการเจริญเติบโตที่ดีกว่าการย้ายปลูกต้นพืชขนาดเล็ก

Downloads