การพัฒนาตำรับกันแดดจากสารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแก

Authors

  • สุธิดา ชาญวานิชกุล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • โองการ วณิชาชีวะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • พนิดา แสนประกอบ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของสารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแก 2) หาปริมาณสารประกอบ    ฟีนอลิกรวมของสารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแก 3) พัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์กันแดดจากสารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแก ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแกที่สกัดด้วยเอทานอล ร้อยละ 95 มีผลผลิตร้อยละเท่ากับ 3.3±0.00 เมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม พบว่า ที่ความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร หญ้าตีนตุ๊กแกมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันได้ 56.84% และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมเท่ากับ 73.85 ไมโครกรัมแกลลิคแอซิดต่อมิลลิกรัมสารสกัด สารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแกถูกนำไปเป็นส่วนผสมในตำรับกันแดด โดยมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงระหว่าง ร้อยละ 0.005-0.03 น้ำหนักต่อน้ำหนัก เมื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ พบว่า สารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแกความเข้มข้นร้อยละ 0.02 น้ำหนักต่อน้ำหนักมีความเหมาะสมในการพัฒนาตำรับกันแดด ค่าการป้องกันรังสียูวีบี (SPF) โดยใช้เครื่องสเปกโตโฟโตมิเตอร์ เท่ากับ 26 ค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5.35 เนื้อผลิตภัณฑ์ไม่มีการแยกชั้นหรือตกตะกอนทั้งในอุณหภูมิตู้อบ 45 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิตู้เย็น 4 องศาเซลเซียส เนื้อผลิตภัณฑ์มีสีเขียวอ่อนของสารสกัด มีกลิ่นหอมอ่อน และผลิตภัณฑ์มีความสามารถในการซึมสู่ผิวในระดับดี ดังนั้นสารสกัดหญ้าตีนตุ๊กแกมีความเหมาะสมสำหรับนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์กันแดด รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด

Downloads