การสกัดสารอัลคาลอยด์ด้วยวิธีการสกัดแบบสารละลายน้ำสองวัฏภาคตามด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลาย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสจากใบขี้เหล็ก

Authors

  • ประกิต ไชยธาดา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • อารีรัตน์ จันทรมาศ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • รัตนพร ดำแท้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • เสาวณีย์ เมืองจันทร์บุรี ภาควิชาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา 90100

Abstract

ขี้เหล็กจัดเป็นพืชที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมารับประทานจำนวนมาก โดยจะนำในส่วนของยอดอ่อนและดอกมาประกอบเป็นอาหาร ขี้เหล็กเป็นพืชที่มีรสขม นอกจากการนำมารับประทาน ก็ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เลย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสกัดสารอัลคาลอยด์จากใบขี้เหล็ก โดยใช้วิธีการสกัดแบบสารละลายน้ำสองวัฏภาค และการสกัดด้วยตัวทำละลาย และนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH รวมทั้งฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส จากการหาค่าความชื้นของใบขี้เหล็กพบว่ามีค่าเท่ากับร้อยละ 53.10 เปอร์เซ็นต์ การสกัดแบบสารละลายน้ำสองวัฏภาค และการสกัดด้วยตัวทำละลายและการสกัดด้วยตัวทำละลาย มีค่าผลผลิตร้อยละเท่ากับ 58.88 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบหาสารอัลคาลอยด์ โดยการหยด Wagner’s reagent พบว่าเมื่อเวลาผ่านไปจะได้ตะกอนซึ่งมีลักษณะเป็นตะกอนขุ่น สีน้ำตาลแดง จากนั้นเมื่อนำสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบขี้เหล็กที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า สารสกัดจากใบขี้เหล็กมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ที่ดีมาก โดยมีร้อยละของการยับยั้งอนุมูลอิสระเท่ากับ 85.43±0.78% ที่ความเข้มข้น 1000 ppm เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน Trolox (95.83±0.16%) และมีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสที่ดีมาก โดยมีร้อยละของการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสเท่ากับ 86.12±2.42% ที่ความเข้มข้น 1000 ppm ซึ่งดีกว่าสารมาตรฐาน Acarbose ที่มีร้อยละของการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสเท่ากับ 58.62±1.32% ที่ความเข้มข้นเดียวกัน

Downloads