การแปรรูปโฟมรีไซเคิล ผสมเส้นใยแก้วเป็นผลิตภัณฑ์

Authors

  • รำพึง เจริญยศ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
  • จักรินทร์ น่วมทิม สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
  • สุทธิสาร อนันตรัตนชัย สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

Abstract

โครงการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสมบัติทางกลและทางกายภาพของพลาสติกผสมได้จากการผสมระหว่างโฟม EPS และใยแก้วชนิดเส้นสั้น ซึ่งสามารถนำไปใช้งานทางวิศวกรรมได้และเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำของเหลือใช้มารีไซเคิลเพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม การทดลองโดยใช้โฟม EPS (Expanded Polystyrene Foam)  รีไซเคิล ผสม กับ ใยแก้วชนิดเส้นสั้น ด้วยการนำโฟม ที่ใช้แล้วมาทำการหลอมด้วยความร้อนจะได้เป็น  EPS  แล้วทำเป็นเม็ดหรือชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปหลอมรวมกับใยแก้วชนิดเส้นสั้น จำนวน 3 อัตราส่วนผสม คือ ร้อยละ 20, ร้อยละ 30, และ ร้อยละ 40 ที่อุณหภูมิ 230 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที เมื่อเย็นตัวแล้วย่อยเป็นเม็ดคอมพาวด์ นำส่วนผสมคอมพาวด์ไปอบให้ความร้อนอีกครั้งแล้วอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น สำหรับขึ้นรูปเป็นชิ้นทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบที่กำหนด ทำการสมบัติทางกลของวัสดุผสม เพื่อหาอัตราส่วนผสม ที่มีสมบัติเหมาะสมสำหรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งจากการทดสอบพบว่าวัสดุ  EPS ผสมใยแก้วชนิดเส้นสั้น อัตราส่วนร้อยละ 40 สามารถยึดเกาะกันได้ดีที่สุด ทำให้มีสมบัติทางกลที่ดีกว่าอัตราส่วนผสมอื่นๆ  คือ มีค่าสัมประสิทธิ์การยืดหยุ่น  2,693.40  MPa.(SD=58.31) ค่าสัมประสิทธิ์การแตกหัก 4.38 MPa. (SD=0.51) ความต้านทานแรงอัด 128.48 Kg/cm2. (SD=6.78) ความแข็ง 94.82 HRR.(SD=3.24) เพราะสมบัติวัสดุจะแปรผันตามส่วนผสมของเส้นใยแก้วเสริมแรง ที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นตามเนื่องจากการประสานระหว่าง PS ที่มาจาก EPS โฟมรีไซเคิล กับใยแก้วชนิดเส้นสั้น มีการจับตัวและการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ตามจำนวนวัสดุเสริมแรง อัตราส่วนผสมที่มีเส้นใยเสริมแรงน้อย ก็จะทำให้มีความแข็งแรงลดลงเพราะว่า มีจำนวน PS ที่จำนวนมากเกินไป ทำให้มีสมบัติแข็ง และมีความเปราะสูง ทำให้แตกหักได้ง่าย

Downloads