ภาษาไทยถิ่นใต้: กรณีศึกษาลักษณะการใช้คำ ความหมายและบริบทสังคมวัฒนธรรมที่ปรากฏในบทเพลงของค่ายพาราฮัท

Authors

  • จักรินทร์ แดงแสละ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
  • ดวงลดา ขวัญนิมิตร สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
  • ลิต้า เส็นเจริญ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
  • สมิทธ์ชาต์ พุมมา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
  • อลิสา คุ่มเคี่ยม สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา 90000

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้ที่ปรากฏในบทเพลงของค่ายพาราฮัท  ในประเด็น  1) ลักษณะการใช้คำและความหมาย  2) การใช้ภาษาที่สะท้อนถึงบริบทสังคมวัฒนธรรมภาคใต้  โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลคำจากบทเพลงในช่อง PARAHUT MUSIC CHANNEL จาก www.Youtube.com จำนวนทั้งสิ้น 53 บทเพลง ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะการใช้คำและความหมาย พบข้อมูลคำในภาษาไทยถิ่นใต้ที่ปรากฏในบทเพลงของค่ายพาราฮัท ทั้งสิ้น 140 คำ แบ่งการใช้เป็น 7 ลักษณะ คือ 1) การใช้คำและความหมายแสดงอาการและความรู้สึก 2) การใช้คำและความหมายแสดงการด่าและคำกล่าวตำหนิ  3) การใช้คำและความหมายแสดงสถานภาพ 4) การใช้คำและความหมายแสดงการบอกจำนวน 5) การใช้คำและความหมายแสดงการบอกเวลา 6) การใช้คำและความหมายแสดงการบอกสถานที่ และ 7) การใช้คำและความหมายที่ปรากฏเป็นชื่อเฉพาะ ส่วนบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในบทเพลงของค่ายพาราฮัท โดยส่วนใหญ่ปรากฏให้เห็นถึงประเพณีวัฒนธรรมของชาวปักษ์ใต้ที่สืบทอดกันมาช้านาน โดยผสมผสานถึงความเป็นไทยพุทธ ไทยมุสลิมได้อย่างกลมกลืน รวมถึงการอยู่ร่วมกันของผู้คนถึงแม้จะต่างชาติพันธุ์กันของชาวพื้นเมืองและชาวป่าซาไก ถือเป็นความหลากหลายทางสังคมในแง่มุมต่างๆ  ซึ่งการถ่ายทอดผ่านบทเพลงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสังคมภาคใต้ได้อย่างเด่นชัด โดยผ่านภาษาในบทเพลงซึ่งแสดงให้เห็นคุณค่าอย่างแท้จริง

Downloads