ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

Authors

  • สมพิศ อ้นชุม สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
  • พรรณวดี ขำจริง สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยเพื่อศึกษาภูมิศาสตร์ภาษาถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ผลการวิจัยพบว่า สภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ วางตัวในแนวจากทิศเหนือไปทิศใต้พื้นที่ส่วน ใหญ่ประมาณ ร้อยละ 70 เป็นภูเขา เป็นพื้นที่ราบอยู่ตอนกลางและตะวันออกของเกาะ พื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็น ดินเลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขา และหาดทรายที่สวยงาม อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไปเป็นที่ราบสลับกับเนินเขา ด้านทิศเหนือของพื้นที่เป็นที่ราบสูง สลับกับแหล่งน้ำ ซึ่งเหมาะที่จะปรับปรุงเป็นแหล่งน้ำดิบ เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชน พื้นที่ตองกลางของอำเภอถลางมีพื้นที่เป็นที่ราบสลับกับภูเขาที่ทอดแนวยาวครอบคลุมพื้นที่ของ 3 ตำบล ในเขตการปกครองคือ ตำบลป่าคลอก ตำบลเทพกระษัตรี และตำบลศรีสุนทร คือ แนวเขตเขาพระแทว ส่วนด้านตะวันออกมีลักษณะของพื้นที่เป็นป่าชายเลนและพื้นที่ด้านตะวันตกจะมีลักษณะเป็นหาดทรายที่สวยงามเกือบตลอดแนว เหมาะแก่การท่องเที่ยว ลักษณะภูมิอากาศ เป็นลักษณะของอากาศบริเวณชายทะเลในเขตร้อน ซึ่งมี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม - ธันวาคม และฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม ทิศตะวันออกติดชายทะเล ด้านทิศเหนือมีเนินเขาสองลูกคือ เขารังและเขาโต๊ะแซะ มีคลองบางใหญ่จากอำเภอกะทู้ไหลผ่านตัวเมืองออกสู่ทะเลในเขตเทศบาลนครภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองเก่า อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต มีลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม รายล้อมด้วยภูเขาเกือบทั้ง 4 ด้าน อุดมไปด้วยแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ และมีประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นถิ่นกำเนิดของชาวภูเก็ต มีคลองไหลผ่าน 1 สาย คือ คลองบางใหญ่ ลักษณะภูมิอากาศ มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี คือ ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤศจิกายน โดยในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนตกหนัก เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลการวิจัยพบว่า ภาษาของท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต มีลักษณะการใช้คำ ภาษาที่ใช้สื่อสารคล้ายคลึงกัน โดยภาษาใต้เป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของคนใต้ ซึ่งแต่ละจังหวัดก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของคนภูเก็ต โดยภาษาถิ่นของภูเก็ตได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนฮกเกี้ยนมาก เพราะคนภูเก็ตส่วนมากจะมาจากจีนฮกเกี้ยน ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา ของคนภูเก็ตจึงจะออกไปทางจีนฮกเกี้ยนเป็นส่วนใหญ่ มีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคใต้เป็นจำนวนมาก ทั้งบริเวณฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก จึงเป็นเหตุให้คำจีนและวัฒนธรรมอื่น ๆ ของจีนเข้ามาปะปนในภาคใต้ชาวจีนได้อพยพเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตประกอบอาชีพค้าขายและทำเหมืองแร่ชาวจีนเหล่านั้น ถือได้ว่า ภาษาจีนฮกเกี้ยนเป็นภาษาสำคัญที่ใช้มากกว่าภาษาจีนท้องถิ่นอื่น ชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพเข้ามาในจังหวัดภูเก็ต ภาษาถิ่นกำเนิดสนทนากันมักใช้ภาษาจีนฮกเกี้ยนเป็นสื่อกลาง ยกเว้นคนจีนในกลุ่มภาษาท้องถิ่นกำเนิดเดียวกัน จึงใช้ภาษาท้องถิ่นกำเนิดของตนเอง ในอดีตคำภาษาไทยถิ่นภูเก็ตที่เป็นคำยืมภาษาจีนมีคำศัพท์และสำเนียงจีนฮกเกี้ยนปนอยู่เกือบทุกประโยค ในภาษาจีนถิ่นเดิมที่ชาวจีนฮกเกี้ยนใช้พูดกันนั้นย่อมชัดเจนดีแต่ก็อาจเปล่งเสียงเพี้ยนไปบ้างเมื่อประกอบเป็นคำภาษาไทยถิ่นใต้ ลักษณะการใช้คำภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาจีนสำเนียงชาวจีนฮกเกี้ยนเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาถิ่นภูเก็ตมากที่สุด แต่ก็เป็นเพียงอิทธิพลในระดับคำเท่านั้น กล่าวคือ เป็นการยืมคำแต่อย่างเดียว โดยการแทรกคำแทนคำไทยถิ่นใต้ในประโยค ไม่ใช่แทนคำทั้งประโยค หากใช้ภาษาจีนฮกเกี้ยนทั้งประโยคก็ไม่ใช่ภาษาถิ่นไทยใต้จังหวัดภูเก็ต แต่เป็นคำจีนที่ใช้เป็นสื่อสนทนาระหว่างคนจีนด้วยกัน

Downloads

Published

2019-03-14