รูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชนจีนฮกเกี้ยน จังหวัดภูเก็ต: กรณีศึกษาชุมชนย่อยในเขต เทศบาลจากการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน ในช่วงปี พ.ศ.2531-2545

Authors

  • กิตติพงษ์ พวงเพชร สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
  • พรรณวดี ขำจริง สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยเพื่อศึกษาการรูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชนจีนฮกเกี้ยน จังหวัดภูเก็ตกรณีศึกษาชุมชนย่อยในเขต เทศบาลจากการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน ในช่วงปี พ.ศ.2531-2545

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนจีนฮกเกี้ยน จังหวัดภูเก็ต มีรูปแบบการตั้งถิ่นฐานแบบกลุ่ม มากที่สุด รองลงมาคือการตั้งถิ่นฐานแบบสุ่ม และรูปแบบเรียงยาวตามแนวคมนาคม มีการตั้งถิ่นฐานรูปแบบตารางสี่เหลี่ยม มีจำนวนน้อยที่สุด มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานตาม ทฤษฎี Ekistics ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพื้นที่ราบในการตั้งถิ่นฐานและใกล้แหล่งน้ำ เพื่อความปลอดภัย เพื่อให้คนที่อยู่อาศัยได้ใกล้ชิดกัน การไปมาหาสู่กันได้สะดวก ซึ่งมีผลทำให้ชุมชนแต่ละชุมชนตั้งอยู่ระยะทางต่างๆนั้นไม่ไกลกันมากนัก โดยในช่วงแรกไม่มีการวางแผนในการตั้งถิ่นฐาน จะตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกที่มีวิถีชีวิตที่เหมือนกัน ประกอบอาชีพเดียวกันและบางชุมชนที่มีความจำกัดเชิงพื้นที่ก็จะตั้งถิ่นฐานในรูปแบบเรียงยาวตามแนวถนนและแม่น้ำ ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทจะมีการตั้งถิ่นฐานในรูปแบบสุ่มเนื่องจากเดิมประชาชนจะตั้งบ้านเรือนแบบกระจายโดดเดี่ยวบนพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง เมื่อชุมชนเริ่มมีการพัฒนาทำให้ประชาชนภายนอกอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นโดยจะเกาะกลุ่มอยู่ในบริเวณด้านหน้าของชุมชนที่สะดวกต่อการเดินทางมากที่สุด และการตั้งถิ่นฐานในรูปแบบตารางสี่เหลี่ยมเกิดจากการวางแผนในการตั้งถิ่นฐาน ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความเจริญเป็นอย่างมาก จะตั้งอยู่บนที่ราบ มีความสะดวกในการเดินทางและขยายความเป็นเมือง

ผลการวิจัยพบว่าชุมชนจีนฮกเกี้ยน จังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่มีการตั้งถิ่นฐานโดยรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้มากที่สุด รองลงมา เปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากกระจายไปเป็นรูปแบบสุ่ม( Random Settlement)และเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากแบบเรียงยาวตามแนวคมนาคม(Linear Settlement) ไปเป็นรูปแบบกลุ่ม(Clustered Settlement) จำนวนน้อยที่สุด เพราะ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ที่ผลักดันให้จังหวัดภูเก็ต เปลี่ยนจากยุคเหมืองแร่ สู่ยุคการท่องเที่ยว ทำให้ประชาชนภายนอกอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น กระจายไปทั่วพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ในบางชุมชนมีพื้นที่ที่จำกัด ทำให้ชุมชนมีบ้านเรือนอยู่อย่างแออัด และขยายชุมชนออกไปรอบๆเช่น บนบริเวณเชิงเขา และสร้างบ้านเรือนในแนวดิ่งคือจากบ้านชั้นเดียวกลายเป็นบ้านมากกว่าชั้นเดียว เป็นอพาร์ตเมนท์ และโรงแรม ในชุมชนชนบทซึ่งเดิมตั้งถิ่นฐานแบบกระจายบนพื้นที่เกษตรกรรม ก็เริ่มมีประชาชนเข้ามาตั้งบ้านเรือนเกาะกลุ่มมากขึ้น จนกลายเป็นรูปแบบสุ่ม คาดว่าในอนาคตจะกลายเป็นรูปแบบกลุ่มทั้งหมด สอดคล้องกับทฤษฎีการแพร่กระจายทางพื้นที่ของไบลุนด์

Downloads

Published

2019-03-19