ศักยภาพในการชำระหนี้ของผู้กู้โครงการสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ปี 2560 ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขานครศรีธรรมราช

Authors

  • สุพัตรา มนัสชล หลักสูตรบริหารธุรกิจ (การเงิน) สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161
  • นลินี ทินนาม หลักสูตรบริหารธุรกิจ (การเงิน) สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161

Abstract

งานวิจัยเรื่องศักยภาพในการชำระหนี้ของผู้กู้โครงการสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ปี 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการชำระหนี้ของผู้กู้โครงการสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ปี 2560 ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขานครศรีธรรมราช ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มสินเชื่อของผู้กู้โครงการสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ปี 2560 ที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2560 – ธันวาคม 2560 จำนวน 83 คน โดยการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก

ผลการศึกษา พบว่า ผู้กู้โครงการสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ปี 2560 ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขานครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจที่ขอกู้ในครั้งนี้ 10 ปีขึ้นไป มีประวัติการติดต่อกับสถาบันการเงิน 10 ปีขึ้นไป ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ มีความสามารถในการชำระหนี้สูง ใช้เงินทุนในการดำเนินธุรกิจจากการกู้มากกว่าเงินทุนส่วนตัว และใช้บริการค้ำประกันวงเงินกู้จากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้กู้ในโครงการฯ มีจุดแข็งเกี่ยวกับศักยภาพในการชำระหนี้ 2 ด้าน คือ ด้านคุณสมบัติของผู้กู้ (Character) ซึ่งพิจารณาจากประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ประวัติการติดต่อสถาบันการเงิน และประวัติการชำระหนี้ และด้านความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity) ซึ่งพิจารณาจากความสามารถในการทำกำไรเพื่อไปชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการวิจัยพบประเด็นที่ธนาคารต้องพึงระวัง 2 ด้าน คือ ด้านเงินทุน (Capital) ซึ่งพิจารณาจากแล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ และด้านหลักประกัน (Collateral) ซึ่งพิจารณาจากหลักทรัพย์หรือสิ่งที่ผู้กู้นำมาค้ำประกันเงินกู้ โดยผลการวิจัยนี้ ธนาคารสามารถนำไปใช้ในการวางแผนหาแนวทางควบคุมดูแลและติดตามการชำระหนี้ของผู้กู้ในโครงการนี้ เพื่อให้ผู้กู้สามารถชำระหนี้ได้อย่างราบรื่นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยไม่ก่อให้เกิดหนี้เสียต่อธนาคาร

Downloads

Published

2019-03-19