ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรกรไทยยุค 4.0 (Smart Farmer) ของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดภูเก็ต

Authors

  • ชฎาพร ง่วนอ่อน สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
  • พรรณวดี ขำจริง สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยเพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการทำเกษตรยุค 4.0      (Smart Farmer) ในจังหวัดภูเก็ตและเพื่อศึกษาแนวโน้มของเกษตรกรในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมเข้าสู่ยุค 4.0 (Smart Farmer) โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 5,267 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนและการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จของเครซี่ และมอร์แกน ดังนั้นขนาดกลุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยจึงใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 337 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ บทความ เอกสาร รายงานการวิจัย และแบบวัดความรู้ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือ ความถี่และ ร้อยละ  เป็นสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

            1) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากเกี่ยวกับการเกษตรคือการปฏิบัติกับที่ดินเพื่อให้เกิดผลผลิตทั้งปลูกพืชเลี้ยงสัตว์คิดเป็นร้อยละ 75.86 ,วิธีการปลูกพืชแบ่งเป็นวิธีใหญ่ๆ ได้ 3 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง การปลูกโดยวิธีย้ายกล้าปลูก และการปลูกโดยใช้ส่วนเจริญของพืชคิดเป็นร้อยละ 75 ,ผู้ที่ทำการเกษตรเรียกว่าเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 72.94 และมีความรู้ระดับน้อยเกี่ยวกับกลุ่มเกษตรกรจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม,ลักษณะการปลูกผักคือ ปลูกในแปลงเพราะปลูกต้องการดูแลรักษาอย่างดีคิดเป็นร้อยละ 67.37 ,ผลผลิตของพืชไร่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของคนไทยโดยใช้บริโภคเป็นอาหารหลักคิดเป็นร้อยละ 66.57 สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างรู้น้อยที่สุดต้องแก้ไขปรับปรุงโดยการให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกร จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับเกษตรไทยยุค 4.0 (Smart famer) ของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดภูเก็ตอยู่ในระดับมาก

            2) ศึกษาแนวโน้มของเกษตรกรในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมเข้าสู่ยุค 4.0 (Smart farmer) แนวโน้มของเกษตรกรในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมเข้าสู่ยุค 4.0 (Smart farmer) มีโอกาสเป็นไปได้สูงในอนาคต โดยภาครัฐมีนโยบาย Thailand 4.0 ที่รัฐบาลพูดถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนประเทศ ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยี มีการใช้นวัตกรรมในการเพาะปลูก การจัดการ รวมไปถึงการตลาด และมีการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา งานวิจัย เพื่อควบคุมการผลิตให้ได้ตามที่ต้องการ มีสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ในอนาคตเกษตรกรมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมเข้ายุค 4.0 (Smart farmer) รัฐบาลได้มีการตั้งเป้าเพื่อเดินหน้าผลักดันการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) และมีการมองแนวทางปรับปรุงนโยบายทางการเงิน  ด้านภาคบริการทางการเงิน ให้สอดรับและเตรียมรับการเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ แต่ที่สำคัญ การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรและเกษตรกรไทยให้ปรับตัวและสามารถใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจแบบ knowledge-based และ digital economy ให้ได้มากที่สุด ประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนศักยภาพในการทำวิจัยหรือคิดค้นวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเกษตร แต่ปัญหาดูเหมือนจะเป็นการนำเทคโนโลยีที่คิดค้นแล้วเหล่านั้นมา commercialize หรือสร้างมูลค่าทางการค้า เพื่อให้กลายเป็นผลผลิตในเชิงพาณิชย์ ก็คือสินค้าเกษตรใหม่ที่ขายได้ดี ติดตลาด ส่งออก ทำเงินและสร้างงานให้เกษตรกรในระดับ  รากหญ้านอกจากนั้น ยังมีเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรเพื่อที่ช่วยให้เกษตรกรทำงานง่ายขึ้น และพัฒนาผลผลิตให้คุ้มทุนมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าเกษตรและอาหารด้วย ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องใช้เงินลงทุนและการลงทุนสูง เพื่อหวังผลในระยะยาว ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุน

Downloads

Published

2019-02-19