การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ในโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราเมื่อได้รับการสนับสนุนจากนโยบายส่งเสริมการลงทุน

Authors

  • ราชันย์ ชูชาติ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง จังหวัดตรัง 92000

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาความคุ้มทางการเงินในการลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นโรงงานไม้ยางพาราแปรรูปแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง ผลการศึกษาพบว่า กรณีได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี BOI ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ คิดมูลค่าปัจจุบันสุทธิได้ 4,350,472.96 บาทจากกรณีปกติ 2,497,758.15บาท เพิ่มขึ้น 74.17% อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.28 เท่า จากกรณีปกติ 1.15 เท่า เพิ่มขึ้น 11.30% อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการเท่ากับ 12% จากกรณีปกติ 10% เพิ่มขึ้น 20%รวมถึงมีระยะคืนทุนเท่ากับ 6.65 ปี จากกรณีปกติ 7.79 ปี ลดลง 14.36% แสดงให้เห็นว่าโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เมื่อได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี BOI มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งพบว่า ค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยเท่ากับ 3.09  บาทต่อหน่วยจากกรณีปกติ 3.33 บาทต่อหน่วย ลดลง 7.15% และค่าต้นทุนระบบต่อขนาดกำลังผลิตติดตั้งนั้นมีค่าเท่ากับ 40.76 บาทต่อวัตต์จากกรณีปกติ 43.9 บาทต่อวัตต์ ลดลง 7.20% บาทต่อวัตต์แสดงให้เห็นโครงการมีความคุ้มในการลงทุนเนื่องจาก ค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยเท่ากับ 3.09  บาทต่อหน่วยมีค่าน้อยกว่าราคาค่าไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้าอัตรา 4.2 บาทต่อหน่วย และต้นทุนระบบต่อกำลังผลิตมีค่าลดลง จึงอาจคาดการณ์ได้ว่าการให้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี BOI ของภาครัฐจะทำให้ภาคเอกชนสนใจลงทุนในระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น

Downloads

Published

2019-03-19