การจัดการดำเนินงานและการผลิตหมากแห้งในพื้นที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • พิมลรัตน์ แตงพลับ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
  • เกษสิรินทร์ ชูกรณ์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
  • ณัจนันท์ กำชัย สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
  • ธีรพล ธุลีกาญจน์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
  • อรปวีณ์ เลิศไกร สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110

Abstract

การวิจัยเรื่อง การจัดการดำเนินงานและการผลิตหมากแห้งในพื้นที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 400 ชุด และแบบสัมภาษณ์ 6 ชุด ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้จำหน่ายหมากแห้งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 51-60 ปี และระดับการศึกษาประถมศึกษา ปัจจุบันส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาทและมีพื้นที่เพาะปลูกหมากจำนวน 1-10 ไร่ และช่องทางการกระจายหมากแห้ง ผลการวิจัยพบว่า ส่วนมากเกษตรกรจะขายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยส่วนใหญ่เกษตรกรนำผลผลิตไปขายเองที่จุดรับซื้อ ปัญหาและอุปสรรคของช่องทางการกระจายหมากแห้งของเกษตรกร แบ่งเป็น 6 ด้าน คือ ด้านคุณภาพผลผลิต ด้านปริมาณ ด้านราคา ด้านคลังสินค้า ด้านการขนส่ง ด้านการบริการ ซึ่งปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุด คือ ด้านปริมาณ มีปัญหาในเรื่องพ่อค้าบางรายกำหนดปริมาณการรับซื้อ และหมากแห้งมีความแห้งมากเกินไปทำให้ปริมาณหมากมีน้ำหนักลดลง ด้านราคายังพบปัญหาในเรื่องถูกพ่อค้าคนกลาง เอาเปรียบทางด้านราคา ขาดข่าวสารทางด้านราคา และราคาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

Downloads

Published

2019-03-19