ลีลาภาษาของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในคอลัมน์คนดังนั่งเขียน

Authors

  • จินดา วรรรณรัตน์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • จริญญา ธรรมโชโต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
  • สมิทธ์ชาต์ พุมมา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลีลาภาษาของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต 4 ลักษณะ ได้แก่ การใช้ภาษาในการตั้งชื่อเรื่อง การใช้ภาษาในการเปิดเรื่องและปิดเรื่อง การใช้คำ และการใช้โวหาร โดยเก็บข้อมูลจากคอลัมน์คนดังนั่งเขียนที่เขียนโดยพระมหาสมปอง ในเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์  ตั้งแต่ฉบับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงฉบับวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 รวมทั้งสิ้น 41 ฉบับ ผลการศึกษาพบลีลาการใช้ภาษาของพระมหาสมปอง 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) การใช้ภาษาในการตั้งชื่อเรื่องจำแนกได้ 5 กลุ่ม ได้แก่  ตั้งชื่อเรื่องโดยการเล่นคำ ตั้งชื่อเรื่องโดยการใช้ถ้อยคำแสดงการชี้นำให้อ่าน ตั้งชื่อเรื่องโดยการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ตั้งชื่อเรื่องโดยการใช้ประโยคขอร้อง ตั้งชื่อเรื่องโดยการใช้ประโยคคำถาม  2) การใช้ภาษาในการเปิดเรื่องและปิดเรื่อง พบว่าในการเปิดเรื่อง มีการเขียนที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ 2 แบบ คือ เปิดเรื่องด้วยการทักทาย และเปิดเรื่องที่มีโครงสร้างแบบ [ทักทาย + การนำเข้าสู่เรื่องที่จะพูด] ส่วนการปิดเรื่องจะมีโครงสร้างแบบ [สรุปความ+เจริญพร] 3) การใช้คำ มี 7 ลักษณะ ได้แก่ การใช้คำภาษาปาก การใช้คำเพื่ออ้างถึงสิ่งอื่น การใช้คำเลียนเสียง การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ การใช้คำเพื่อสร้างอารมณ์ขัน การใช้คำศัพท์ในพระไตรปิฎก และการใช้คำบุรุษสรรพนาม  4) การใช้โวหาร  พบ2 ชนิด ได้แก่ เทศนาโวหาร และสาธกโวหาร  จากการศึกษาในครั้งนี้ได้ทำให้ลีลาภาษาอันเป็นลักษณะเด่นในงานเขียนของพระมหาสมปอง

Downloads

Published

2018-03-01