รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษา

Authors

  • อรญา นิชรัตน์ โรงเรียนเมืองเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 34160

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนโรงเรียนเมืองเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำนวน   17 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน และการทดสอบค่าที (t- test for dependent sample)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์  องค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบเชิงกระบวนการการเรียนการสอน  และองค์ประกอบที่ 3 องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้  กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ขั้นเตรียม (Preparation) 2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction) ใช้ภาพ แผนภูมิ เกม บทความ เรื่องเล่าและวีดีทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานำมาสนทนาซักถาม 3) ขั้นจัดกิจกรรม (Learning) และ 4) ขั้นวัดและประเมินผลครูประเมินผล (Evaluation) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการสอนสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับวิธีการแก้ปัญหาแบบซินดิเคทเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Published

2018-03-01