ขันหมากไม้อีสานรูปแบบใหม่กับการประยุกต์ใช้

Authors

  • นิตยา พัดเกาะ สาขาวิชาการจัดการผังเมือง คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา 30000

Abstract

การศึกษาเรื่องขันหมากไม้อีสานรูปแบบใหม่กับการประยุกต์ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ขนาด รูปทรง ลวดลาย กระบวนขั้นตอนการผลิตและการนำขันหมากไม้อีสานรูปแบบใหม่ ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและบันทึกข้อมูลด้วยตนเองเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ผลิตขันหมากไม้อีสานรูปแบบใหม่ภายในพื้นที่ภาคอีสานเท่านั้น

ผลการศึกษาพบว่าผู้ผลิตขันหมากไม้อีสานมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มของนายสมชาย บุตรน้อย และนายบัวเรียน โสรส อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันได้เลิกกิจการแล้ว) 2.อาจารย์พิทยา บุญลา (ข้าราชการบำนาญ) ตำบลห้วยขะยุง จังหวัดอุบลราชธานี ได้ผลิตผลงานออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ประเภทแรกขันหมากไม้อีสานเลียนแบบของเก่ารูปทรงเดิมแต่วัสดุกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยและเปลี่ยนประโยชน์การใช้งานเป็น ของที่ระลึกเป็นของประดับห้องหรือไว้ใส่สิ่งของเล็กๆน้อยๆแทนการใส่หมาก พลูเหมือนเช่นอดีต ประเภทที่สองเป็นการนำแนวความคิดจากรูปทรงของขันหมากไม้อีสานมาปรับเปลี่ยนเป็นโคมไฟโคมไฟตกแต่งเชิงเทียนเป็นต้นในปัจจุบันขันหมากไม้อีสานรูปแบบใหม่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายผู้ที่นำไปใช้งานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าเฉพาะอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีรวมถึงหันไปใช้สินค้าที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมแทนซึ่งหาซื้อง่ายตามท้องตลาด ดังนั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะเข้ามาส่งเสริมให้เป็นวัฒนธรรมของคนอีสานไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาและสืบทอดต่อไป

Downloads

Published

2018-03-01