การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง ๑ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • ชนิดาภา สว่างศรี โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง ๑ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ขอบเขตของการวิจัยครั้งนี้ ประชากรเป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง ๑ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 30 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย และแบบทดสอบแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากการวาดภาพ TCT - DP (Test of Creative Thinking - Drawing Production) ของเยลเลน และเออร์บัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคะแนนแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์รวมเฉลี่ยเท่ากับ 48.52 และ 57.44 ซึ่งอยู่ในระดับสูง คะแนนความคิดริเริ่มเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 และ 8.93 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางและสูง คะแนนความคิดคล่องตัว เฉลี่ยเท่ากับ 3.37 และ 4.35 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางและระดับสูง คะแนนความคิดยืดหยุ่น เฉลี่ยเท่ากับ 13.78 และ 18.22 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางและสูง คะแนนความคิดละเอียดลออ เฉลี่ยเท่ากับ 20.00 และ 25.93 ซึ่งอยู่ในระดับสูงและระดับสูงมาก ตามลำดับ 2) หลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย เด็กปฐมวัยมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์โดยรวมเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเท่ากับ 8.93 (D = 8.93) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.01 (t = 23.21) แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความคิดสร้างสรรค์โดยรวมสูงขึ้นอย่างชัดเจน

Downloads

Published

2018-03-01