ผลของปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาหมักด้วยเชื้อราย่อยสลายต่อการควบคุมโรคเน่าคอดินของคะน้าสาเหตุจาก เชื้อรา Pythium aphanidermatum ในระดับห้องปฏิบัติการและระดับโรงเรือน

Authors

  • วรวุฒิ อ้ายดวง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
  • บุญร่วม คิดค้า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
  • มนัส ทิตย์วรรณ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
  • วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาที่หมักด้วยเชื้อราย่อยสลาย Rhizopus oryzae (UPPY29) และ Trichoderma harzianum (UPPY19) ต่อการควบคุมโรคเน่าคอดินของคะน้า โดยการทดสอบผลของเชื้อราย่อยสลายทั้ง 2 ชนิดต่อการควบคุมเชื้อรา Pythium aphanidermatum สาเหตุโรคเน่าคอดินในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าเชื้อราย่อยสลายทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา Rhizopus oryzae และ Trichoderma harzianum สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. aphanidermatum สาเหตุโรคเน่าคอดินได้เท่ากับ 72.61 และ 80.61 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และการทดสอบการควบคุมโรคเน่าคอดินในระดับโรงเรือน โดยเปรียบเทียบปุ๋ย 3 ชนิด ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์โรงงาน ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 และปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวา วางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) จำนวนทั้งหมด 7 กรรมวิธี ๆ ละ 5 ซ้ำ พบว่ากรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวา (อัตรา 500 กก./ไร่) ร่วมกับการปลูกเชื้อรา P. aphanidermatum และกรรมวิธีที่ 7 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาเพียงอย่างเดียว มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเน่าคอดิน (DI) น้อยที่สุดเท่ากับ 4 และ 8 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 ร่วมกับการปลูกเชื้อรา P. aphanidermatum พบว่าคะน้ามีการเกิดโรคเน่าคอดิน (DI) มากที่สุดเท่ากับ 86 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการนำปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวาที่หมักจากเชื้อราย่อยสลายมาใช้ในการปลูกคะน้าสามารถช่วยลดการเกิดโรคเน่าคอดินในคะน้าได้ดีที่สุด

Downloads

Published

2018-03-01