การเพาะเลี้ยงแบบกะและแบบต่อเนื่องของไดอะตอมท้องน้ำ Amphora subtropica BUUC1502 ที่แยกจากบ่อเลี้ยงกุ้งขาว

Authors

  • ปวีณา ตปนียวรวงศ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • ปรารถนา ปานทอง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
  • ปาริชาติ ชุมทอง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • มะลิวัลย์ คุตะโค คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22170
  • รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22170
  • ชลี ไพบูลย์กิจกุล คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22170
  • สรวิศ เผ่าทองศุข ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเติบโตของไดอะตอมท้องน้ำ Amphora subtropica BUUC1502 ซึ่งแยกได้จากบ่อเลี้ยงกุ้งขาว ในจังหวัดจันทบุรี ทำการแยกเซลล์ให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิค single cell isolation และแยกให้ได้โคโลนีเดี่ยวอีกครั้งบนอาหารแข็งที่เตรียมจากอาหารสูตรกิลลาร์ด F/2 ก่อนนำมาทำการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารเหลวสูตรกิลลาร์ด F/2 ที่มีความเค็ม 30 พีเอสยู เมื่อทำการทดลองเพาะเลี้ยงไดอะตอมในระบบแบบกะพบว่า A. subtropica BUUC1502 ที่เลี้ยงในขวดปริมาตร 1 ลิตร มีอัตราการเติบโตจำเพาะเท่ากับ 1.29±0.28 ต่อวัน และมีความหนาแน่นเซลล์เฉลี่ยสูงสุด 204.72±37.33x104 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีค่าสูงกว่าความหนาแน่นเซลล์สูงสุดที่ได้จากการขยายปริมาตรการเพาะเลี้ยงเป็น 5, 10 และ 50 ลิตร (P≤0.05) เมื่อทำการศึกษาการเติบโตของไดอะตอม A. subtropica BUUC1502 ในระบบการเพาะเลี้ยงแบบต่อเนื่องในขวดแก้วปริมาตร 2 ลิตร โดยปรับอัตราการเจือจางขึ้นจาก 0.21 ถึง 1.12 ต่อวัน โดยสามารถเลี้ยงแบบต่อเนื่องได้นานถึง 90 วัน พบว่าแต่ละระดับอัตราการเจือจางมีความหนาแน่นเซลล์เฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (P≥0.05) แต่ผลผลิตเซลล์มีค่า 105.20x107 เซลล์ต่อลิตรต่อวัน เมื่อเพาะเลี้ยงด้วยอัตราการเจือจาง 1.12 ต่อวัน ซึ่งให้ผลผลิตเซลล์สูงกว่าการเพาะเลี้ยงด้วยอัตราการเจือจาง ณ ระดับอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05)

Downloads

Published

2018-03-01