ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดยอและดอกปาล์มน้ำมันตัวผู้ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุง

Authors

  • ประกิต ไชยธาดา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • รัตนา เพชรรอบ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • บุษบาวรรณ ส่งศรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280

Abstract

ในงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดยอและดอกปาล์มน้ำมันตัวผู้ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุง โดยมีการเตรียมสารสกัดของพืชทั้งสองชนิดจากเมล็ดของยอและจากดอกของปาล์มน้ำมันตัวผู้ด้วยน้ำกลั่นและเอทานอล การทดสอบเบื้องต้นของสารอัลคาลอยด์ และฟลาโวนอยด์ของสารสกัดจากเมล็ดยอและดอกปาล์มน้ำมันตัวผู้ โดยเก็บตัวอย่างของลูกน้ำยุงจากบริเวณที่มีน้ำขัง รวมถึงการวิเคราะห์ค่า LC50 จากการทดลองพบว่าสารเคมีที่พบจากสารสกัดเหล่านี้มีองค์ประกอบของสาร อัลคาลอยด์และฟลาโวนอยด์ ซึ่งสารอัลคาลอยด์เป็นสารชีวภาพที่มีคุณสมบัติฆ่าแมลง ซึ่งผลการศึกษาการควบคุมการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงจากสารสกัดของเมล็ดยอและดอกปาล์มน้ำมันตัวผู้ด้วยน้ำกลั่นและเอทานอล พบว่า ลูกน้ำยุงที่ได้รับสารสกัดด้วยเอทานอล มีอัตราการตายของลูกน้ำยุงสูงกว่าสารสกัดด้วยน้ำกลั่น และสารสกัดในระดับความเข้มข้นสูงทำให้มีอัตราการตายของลูกน้ำยุงมากกว่าสารสกัดในระดับความเข้มข้นต่ำ โดยสารสกัดของดอกปาล์มน้ำมันตัวผู้ด้วยเอทานอลและน้ำกลั่น มีค่า LC50เท่ากับ 2.27±0.75 และ 2.82±0.05 %v/v ตามลำดับ ส่วนสารสกัดเมล็ดยอด้วยเอทานอลและน้ำกลั่นมีค่า LC50 เท่ากับ 5.10±0.09 และ 3.65±0.06 %v/v ตามลำดับ สารสกัดจากเมล็ดยอและดอกปาล์มน้ำมันตัวผู้ในตัวทำละลายเดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (α=0.05) ดังนั้น สารสกัดจากเมล็ดยอและดอกปาล์มน้ำมันตัวผู้สามารถใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงได้

Downloads

Published

2018-03-01