การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใช้ชุดการสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD วิชา การบัญชีกิจการพิเศษ เรื่อง การบัญชีเกษตรกร สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 2

Authors

  • นงคราญ ช่างสาน แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยการอาชีพสมเด็จเจ้าพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 90190

Abstract

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดคุณภาพกับผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ต้องอาศัยวิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย สื่อการสอนที่เหมาะสม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างและหาประสิทธิภาพของ ชุดการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD วิชา การบัญชีกิจการพิเศษ เรื่อง การบัญชีเกษตรกร ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 2 3) ศึกษาพฤติกรรมกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD  4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 2 แผนกการบัญชี วิทยาลัยการอาชีพสมเด็จเจ้าพะโคะ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนทั้งสิ้น  10 คน  เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดการสอนวิชาการบัญชีกิจการพิเศษ  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อชุดการสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD  การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)  ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD วิชา การบัญชีกิจการพิเศษ เรื่อง การบัญชีเกษตรกร มีประสิทธิภาพ 86.00/86.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (E1/E2) 80/80 2) นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนค่าเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน 3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 2 แผนกการบัญชี  มีพฤติกรรมในการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับดี (µ = 2.57) 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (µ = 4.47)

Downloads

Published

2018-03-01