Walailak Procedia https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch <br /><div id="issue-107" style="clear: left;"><br /><a href="/index.php/wuresearch/issue/archive" target="_blank"><img src="/public/site/images/admin/Cover_for_IC4IR_2019.png" alt="" /></a><br /><br /><br /><strong>E-ISSN:</strong> 2630-0001<br /><br /><strong>Start year:</strong> 2018<strong><br /><br />Language:</strong> Thai/English<br /><br /><strong>Publication fee:</strong> <span style="color: #c00000;">Free of Charge<br /></span><br /><strong>Free access:</strong> Immediate</div> en-US wuird.walailak@gmail.com (Kosin Sirirak) wuird.walailak@gmail.com (Kosin Sirirak) Wed, 14 Aug 2019 20:36:43 +0700 OJS 3.2.1.4 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานจากเตยหนามป่ากลุ่มบุหงาปืองาเต็ง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7322 กลุ่มบุหงาปืองาเต็งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์โอทอป ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เดิมผลิตสินค้าประเภทชุดขันหมากแต่งงานซึ่งเป็นที่มาของชื่อกลุ่ม “บุหงาปืองาเต็ง” ต่อมากลุ่มเล็งเห็นว่าในพื้นที่มีเตยหนามธรรมชาติจำนวนมาก จึงเริ่มหันมาผลิตเสื่อจักสานจากเตยหนามจำหน่ายให้แก่คนในชุมชน แต่ต่อมากลุ่มได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับจำนวนเตยหนามในพื้นที่ลดลง เนื่องจากบ้านเรือนที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาเชื้อราทำให้สีสันของเส้นเตยหนามไม่สวยและขนาดเส้นที่ไม่ได้มาตรฐาน ประกอบกับปัญหาด้านการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ยังขาดตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลาร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มภายใต้โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge - Based OTOP: KBO) โดยปรับเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นเตยหนามป่าที่ยังคงมีมากในพื้นที่ และใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในกระบวนการเตรียมเส้นเตยหนามด้วยการแช่สารกันรา food grade ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเตรียมเส้นเตยหนาม นอกจากนี้คณะที่ปรึกษาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่ยังคงอัตลักษณ์ของกลุ่ม จนได้ผลผลิตเป็นชุดรองจาน (plate mat set) ที่จักสานจากเตยหนามป่า โดยมีแนวคิดจากเสื่อรองรับประทานอาหารที่เรียกว่า “อีแด” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการรับประทานอาหารบนพื้นบ้าน ชุดรองจานจักสานเตยหนามป่าที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย แผ่นรองจาน แผ่นรองแก้ว และที่ใส่ช้อน สำหรับจัดวางบนโต๊ะอาหารชุดละ 4 ชิ้น ซึ่งผสมผสานการตัดเย็บริมให้ดูทันสมัยขึ้นด้วยวัตถุดิบหนัง 3 ชุด ได้แก่ สีดำ สีน้ำตาลอ่อน และสีน้ำตาลเข้ม ภายใต้ชื่อตราสินค้าที่คณะที่ปรึกษาพัฒนาให้แก่กลุ่มชื่อว่า “KOOL 1” มาจากคำว่า “กูแว” หรือ “กูวัง” แปลว่า เตยหนาม โลโก้ของตราสินค้าใหม่ KOOL 1 ที่พัฒนาขึ้นเน้นออกแบบลายเส้นของตัวอักษร K L และตัวเลข 1 ให้สะท้อนลายเส้นของเตยหนามที่ใช้จักสาน ส่วนตัวอักษร OO ที่ปรึกษาออกแบบเป็นรูปจานสะท้อนผลิตภัณฑ์จักสานบนโต๊ะอาหาร ผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่า เมื่อกลุ่มได้ใช้กระบวนการผลิตเส้นเตยหนามป่าตามกระบวนการที่ได้ถ่ายทอดไป กลุ่มสามารถแก้ปัญหาเชื้อราได้เป็นอย่างดีส่งผลต่อลักษณะสีของเส้นเตยหนามที่สวยขึ้น รวมถึงการใช้อุปกรณ์ตัดเส้นเตยหนามที่ได้มอบให้ กลุ่มสามารถแก้ปัญหาขนาดเส้นเตยหนามป่าจนได้มาตรฐาน 3 ขนาด ได้แก่ 3 5 และ 7 มิลลิเมตร อีกทั้งกลุ่มยังมีตราสินค้า “KOOL 1” และบรรจุภัณฑ์ของชุดรองจานจักสานเตยหนามป่าที่พัฒนาขึ้น 3 รูปแบบ ได้แก่ ซองกระดาษติดฉลากสำหรับจำหน่ายแยกชิ้น ซองพลาสติกติดฉลากสำหรับจำหน่าย 1 ชุด และกล่องกระดาษสกรีนฉลากสำหรับจำหน่ายรวม 3 ชุด พร้อมตรายางโลโก้ที่กลุ่มสามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ได้เองในต้นทุนที่ต่ำเหมาะกับข้อจำกัดเรื่องงบประมาณของกลุ่มสำหรับดำเนินงานการตลาดในอนาคต ปวีณา เจะอารง, ชรีฮาน ยีแว, มีนา ระเด่นอาหมัด, กัลยรัตน์ พินิจจันทร์, รอมลี เจะดอเลาะ, อิมรอน มีชัย Copyright (c) 2019 Walailak Procedia https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7322 ป้ายอัจฉริยะเชื่อมโยงการท่องเที่ยววิถีชุมชน https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7323 การบริการวิชาการป้ายอัจฉริยะเชื่อมโยงการท่องเที่ยววิถีชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตลอดจนสามารถจัดทำแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้วิถีชุมชนด้วยเทคโนโลยีในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ร่วมทั้งสร้างการรับรู้ข้อมูล และเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการลงพื้นที่ดำเนินงาน พบว่า มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีการดำเนินงานอยู่หลายกลุ่ม หลายศูนย์เรียนรู้ ที่มีจุดเด่นในการนำเสนอข้อมูล ฐานเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในศูนย์เรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกันศูนย์การเรียนรู้เหล่านี้ก็ยังขาดการเก็บรวบรวมข้อมูล การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ในด้านเส้นทางที่ใช้ในการท่องเที่ยว ศูนย์การเรียนรู้บางศูนย์อาจไม่เป็นที่รู้จักเลยก็เป็นได้และผู้ให้บริการวิชาการและชุมชนจึงมองว่าควรจะมีการรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว การเดินทาง คำแนะนำ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนกิจกรรมที่จัดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ มาบรรจุไว้ในรูปเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกด้านข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งขั้นตอนในการศึกษาเริ่มตั้งแต่การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่อำเภอนาบอน การมีส่วนร่วมในการระดมความคิดในการจัดการเส้นทางท่องเที่ยว กิจกรรมในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร พร้อมกับการสำรวจ รวบรวมข้อมูลเส้นทางที่กำหนดไว้ เพื่อระบุพิกัด แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และนำข้อมูลที่ได้รับมาออกฐานข้อมูลในเว็บไชต์ Wix.com เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในรูปแบบเทคโนโลยี และออกแบบ พัฒนาแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยววิถีชุมชนในรูปแบบป้ายอัจฉริยะเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยววิถีชุมชน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนั้นมีประโยชน์กับกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรนาบอนในการนำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่สามารถเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้วิถีชุมชนได้ และเข้าใจถึงบริบทพื้นที่ ความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยที่มีส่วนร่วมกันศึกษาข้อมูล สำรวจ รวบข้อมูล กำหนดจุดเพื่อการเรียนรู้ จนกระทั่งได้แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร และได้นำเสนอผลงานต่อที่ประชุม ซึ่งมีชุมชนกลุ่มเป้าหมายท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเกษตรอำเภอได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสรุปผลการดำเนินงาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมีการจัดทำสื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลการเกษตรอยู่อย่างต่อเนื่องเช่นกัน และในทางวิชาการของผู้บริการวิชาการได้นำความรู้ในเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน และรวบรวมข้อมูลการบริการวิชาการในรูปแบบกรณีศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน พร้อมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้นักศึกษาลงไปในพื้นที่จริง สภาพแวดล้อมในการทำงานจริง เพื่อได้เข้าใจประเด็นการทำงานร่วมกับชุมชนที่มากยิ่งขึ้น ธิรนันท์ วัฒนโยธิน, นุชากร คงยะฤทธิ์ Copyright (c) 2019 Walailak Procedia https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7323 การจัดทำเว็บแอปพลิเคชันเส้นทางการท่องเที่ยววิถีพาราสู่นาอินทรี ด้วยบริการแผนที่ของกูเกิ้ล (Google Maps API) https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7324 การจัดทำเว็บแอปพลิเคชันเส้นทางการท่องเที่ยววิถีพาราสู่นาอินทรี ด้วยบริการแผนที่ของกูเกิ้ล (Google Maps API) วัตถุประสงค์คือ เพื่อสำรวจเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยววิถีพาราสู่นาอินทรี ของศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา เพื่อออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยววิถีพาราสู่นาอินทรี ของศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชัน เส้นทางการท่องเที่ยววิถีพาราสู่นาอินทรี ด้วยบริการแผนที่ของกูเกิ้ล (Google Maps API) หลังจากได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันขึ้นมานั้น สามารถใช้ในการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จดโดเมนเนม (Domain name) ในชื่อว่า https://baanphulita.in.th/ ระยะเวลา 1 ปี และ มีลักษณะเป็น responsive web design คือ เป็นเทคนิคการออกแบบเว็บไซต์แบบใหม่ ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนขนาดของเว็บไซต์ให้เหมาะสบกับการแสดงผลบนหน้าจอขนาดต่างๆ เพราะมีการใช้รูปแบบเนื้อหาบทเว็บไซต์ CMS (Content Management System) และคำนึงถึงความละเอียดของหน้าจอในอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น นุชากร คงยะฤทธิ์, ธิรนันท์ วัฒนโยธิน, จันทิรา ภูมา, อภิชัย จันทร์อุดม, ปิยะพงศ์ เสนานุช Copyright (c) 2019 Walailak Procedia https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7324 วางแผนพัฒนาเมืองท่าศาลา City Management เพื่อสร้างท่าศาลาเมืองน่าอยู่ https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7325 <p>ท่าศาลาเป็นเมืองที่น่าอยู่เป็นวิสัยของอำเภอท่าศาลา ในการศึกษามีพื้นที่เป้าหมาย 15 หมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา (อบต.) วิธีการศึกษา Mix Methods ศึกษาเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การลงพื้นที่เข้าประชุมหมู่บ้าน การศึกษาเชิงปริมาณการใช้แบบสอบถาม ขั้นตอนกระบวนการในการดำเนินงานโครงการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “Process”ผลผลิตกระบวนการ กระบวนการที่ 1 ศึกษาบริบทสภาพความเป็นเมืองน่าอยู่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทราบบริบทของเมืองที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กระบวนการที่ 2 การสอบถามความคิดเห็นโดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่าง (n) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง โดยเป็นประชาชนกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 450 คน จากทั้ง 15 หมู่บ้าน และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้เทคนิค Snow-ball แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองท่าศาลา (อบต.ท่าศาลา)</p><p>ผลการศึกษาพบว่า ในการจัดทำโครงการ “วางแผนพัฒนาเมืองท่าศาลา City Management เพื่อสร้างท่าศาลาเมืองน่าอยู่ การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาแผนการพัฒนาเพื่อสร้างเป็นเมืองน่าอยู่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช การสร้างกระบวนการรับรู้ของแผนพัฒนาของอบต. เช่น อบต.มีโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ และความรู้เรื่องการสร้างเมืองที่น่าอยู่ เพื่อใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง ผลต่อผู้ใช้ประโยชน์กลุ่มเป้าหมาย หมู่บ้านในพื้นที่เป้าหมาย 15 หมู่บ้าน อบต.ท่าศาลาได้ทราบแนวทางการพัฒนาเมืองท่าศาลา เพื่อสร้างเมืองท่าศาลาเมืองน่าอยู่ การมีแผนที่ชัดเจนจะทำให้หมู่บ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทราบทิศทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่ โดยสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก (Ultimate Goals) ในการบริหารประเทศ นั่นคือ “คนมีความสุข”</p> ทัศนียา บริพิศ, ศิราพร ศักดิ์พรหม Copyright (c) 2019 Walailak Procedia https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7325 ปัญหาการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในชีวิตประจำวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการที่ 43 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7326 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในชีวิตประจำวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการที่ 43 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งสบายใจ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านชายควน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสื่อมวลชนกีฬา และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบาโรย สำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่ใช้ภาษามลายูถิ่นกับนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการที่ 43 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการที่ 43 สามารถอ่านบัญชีคำพื้นฐานแต่ละระดับชั้นได้เกินร้อยละ 50 แต่ทั้งนี้ปัญหาที่พบด้านการออกเสียงคือคำควบกล้ำแท้ นักเรียนที่อ่านออกเสียงผิด ส่วนใหญ่มักไม่ออกเสียงคำควบกล้ำ แต่จะออกเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวเพียงพยัญชนะเดียว</p> นิดาริน จุลวรรณ Copyright (c) 2019 Walailak Procedia https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7326 การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนผ่านกระบวนการวิชาการรับใช้สังคม https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7327 <p>งานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนผ่านกระบวนการวิชาการรับใช้สังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 22 คน ที่เข้าร่วมทำกิจกรรมเสริมทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ (1) เพื่อศึกษาถึงปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการวิชาการรับใช้สังคม และ (2) เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการการแก้ไขปัญหาภาษาอังกฤษหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยการวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย (1) วิธีการเชิงปริมาณ สำหรับพัฒนาการด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษา โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ และ (2) วิธีการเชิงคุณภาพด้วยการเปรียบเทียบข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่ตรวจพบในช่วงที่นักศึกษาเตรียมกิจกรรมเพื่อนำไปสอนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและพัฒนาการของการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวหลังเสร็จสิ้นโครงการ ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังเสร็จสิ้นโครงการ นักศึกษามีผลการทดสอบการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น และ (2) นักศึกษามีการปรับปรุงและแก้ไขจุดผิดพลาดทั้งด้านคำศัพท์ การสะกดคำและด้านไวยากรณ์ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้นักศึกษาสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดเป็นเพราะนักศึกษาต้องฝึกฝนตนเองจนสามารถเป็นตัวอย่างที่ถูกต้องให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาได้ และในการเตรียมกิจกรรมให้กับนักเรียน นักศึกษาได้เห็นตัวอย่างจริงของการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการฝึกฝนและเรียนรู้จริงนอกห้องเรียนจนนำมาสู่พัฒนาการที่ดีขึ้นในการใช้ภาษาอังกฤษ</p> พัชรี อิ่มศรี Copyright (c) 2019 Walailak Procedia https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/7327