วางแผนพัฒนาเมืองท่าศาลา City Management เพื่อสร้างท่าศาลาเมืองน่าอยู่

Authors

  • ทัศนียา บริพิศ
  • ศิราพร ศักดิ์พรหม

Abstract

ท่าศาลาเป็นเมืองที่น่าอยู่เป็นวิสัยของอำเภอท่าศาลา ในการศึกษามีพื้นที่เป้าหมาย 15 หมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา (อบต.) วิธีการศึกษา Mix Methods ศึกษาเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การลงพื้นที่เข้าประชุมหมู่บ้าน  การศึกษาเชิงปริมาณการใช้แบบสอบถาม ขั้นตอนกระบวนการในการดำเนินงานโครงการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “Process”ผลผลิตกระบวนการ  กระบวนการที่ 1 ศึกษาบริบทสภาพความเป็นเมืองน่าอยู่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อทราบบริบทของเมืองที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช  กระบวนการที่ 2 การสอบถามความคิดเห็นโดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่าง (n) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจง โดยเป็นประชาชนกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 450 คน จากทั้ง 15 หมู่บ้าน และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้เทคนิค Snow-ball แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองท่าศาลา (อบต.ท่าศาลา)

ผลการศึกษาพบว่า ในการจัดทำโครงการ “วางแผนพัฒนาเมืองท่าศาลา City Management เพื่อสร้างท่าศาลาเมืองน่าอยู่ การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาแผนการพัฒนาเพื่อสร้างเป็นเมืองน่าอยู่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช  การสร้างกระบวนการรับรู้ของแผนพัฒนาของอบต. เช่น อบต.มีโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ และความรู้เรื่องการสร้างเมืองที่น่าอยู่ เพื่อใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง ผลต่อผู้ใช้ประโยชน์กลุ่มเป้าหมาย หมู่บ้านในพื้นที่เป้าหมาย 15 หมู่บ้าน อบต.ท่าศาลาได้ทราบแนวทางการพัฒนาเมืองท่าศาลา เพื่อสร้างเมืองท่าศาลาเมืองน่าอยู่ การมีแผนที่ชัดเจนจะทำให้หมู่บ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทราบทิศทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่ โดยสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก (Ultimate Goals) ในการบริหารประเทศ นั่นคือ “คนมีความสุข”

Downloads