การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล

Authors

  • สรลักษณ์ ลีลา
  • ศศิธร ชูแก้ว
  • ปรัชญนันท์ นิลสุข

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล 2) ออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล และ 4) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิต จานวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตที่พัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินความเหมาะสมด้านการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผลมีองค์ประกอบคือ หนังสือมีชีวิต ประกอบด้วย AR Book และ โมบายเลิร์นนิง และ การเรียนรู้แบบจุลภาค 2) ผลการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล ประกอบด้วย 2.1) หนังสือมีชีวิต ประกอบด้วย AR Book และ โมบายเลิร์นนิง 2.2) การเรียนรู้แบบจุลภาค 2.3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2.4) ความสามารถการคิดเชิงประมวลผล 3) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิต ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้คือ (1) ปัจจัยนาเข้า ประกอบด้วย การเรียนรู้แบบจุลภาค และหนังสือมีชีวิต (AR Book และ โมบายเลิร์นนิง) (2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 2.1) การปฐมนิเทศผู้เรียน 2.2) การทาแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนการเรียนรู้ และ 2.3) กิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้แบบจุลภาค ประกอบได้ด้วยการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนคือ การกาหนดวัตถุประสงค์เดียว การนาเสนอเนื้อหาและสาระสาคัญสั้น ๆ การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเฉพาะ และ การประเมินผล (3) ผลผลิต ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ความสามารถการคิดเชิงประมวลผล และ (4) ข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ความสามารถการคิดเชิงประมวลผล และ 4) ผลการประเมินความเหมาะสมในการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.64 , S.D. = 0.48) และ ผลการประเมินความเหมาะสมในแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.60 , S.D. = 0.51)

Downloads

Issue

Section

Digital Learning and Services Design