การพัฒนาต้นแบบชุดการเรียนรู้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ผ่านการรับรู้ทางการสัมผัสและการประยุกต์ใช้กระตุ้นพัฒนาการด้านสังคมในเด็ก

Authors

  • อาชาไนย ใจดี
  • กุลธิดา บุญราศรี
  • นันท์นภัส ศิริบุญญพัฒน์
  • ยรรยงค์ พันธ์สวัสดิ์

Abstract

ปัจ จุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์และเทคโนโลยีของหุ่นยนต์กันอย่างแพร่หลาย เช่นเดียวกับการประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์สาหรับการบาบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ (Human-robot interaction; HRI) เป็นการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารของหุ่นยนต์ บทความนี้ได้เสนอการพัฒนาชุดต้นแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ผ่านการรับรู้สัมผัส เพื่อเป็นแนวทางการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านสังคม สาหรับเด็กปกติและกลุ่มที่มีความบกพร่อง ชุดต้นแบบประกอบด้วย ตัวตรวจจับแรงแบบหลายมิติราคาประหยัด และศีรษะหุ่นยนต์ที่มีใบหน้าเคลื่อนไหวได้คล้ายกับมนุษย์ ใช้แสดงผลการตอบสนองจากการสัมผัสที่มนุษย์กระทาบนตัวตรวจจับแรงที่ใช้เป็นผิวหนังของหุ่นยนต์ การประมวลผลแบบเวลาจริงด้วยบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกพื้นฐาน ได้แก่ ดีใจ ตื่นตัว เสียใจ และโกรธ การทดลองมีอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองจานวน 8 คน แต่ละคนทาการสัมผัสรูปแบบที่หลากหลายลงบนตัวตรวจจับ ได้แก่ สัมผัสด้วยการลูบ การสะกิด และการตี จากผลการทดลองความถูกต้องเฉลี่ยในการจาแนกรูปแบบอยู่ในช่วง 70 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ระบบที่นาเสนอสามารถแสดงการตอบสนองทางอารมณ์ผ่านศีรษะหุ่นยนต์ได้ เมื่อได้รับการสัมผัสที่หลากหลายรูปแบบจากมนุษย์ ดังนั้นระบบอาจจะสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้งานจริงได้ในอนาคต

Downloads

Issue

Section

Information Technology and Innovation