การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวสมุนไพรจากกระสัง

Authors

  • ธารหทัย มาลาเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • ชลิตา พุฒขาว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • อารีรัตน์ จันทบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • สิทธิศักดิ์ เครือจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • ธัญยวัฒน์ สายเท้าเอี้ยน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280
  • ภูวนัย อุ้มเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวสมุนไพรจากกระสัง ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus  วีธีวิจัยโดยสกัดสารจากกระสังด้วยเอทานอล 95% เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นระเหยตัวทำละลายออกได้สารสกัดกระสัง ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวหนืด สีเขียว มีกลิ่นฉุน หลังจากนั้นนำสารสกัดกระสังมาปรับความเข้มข้นที่ระดับ 10,000, 50,000 และ 100,000 ppm. ด้วยสารละลาย Dimethylsulfoside (DMSO) แล้วทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ด้วยวิธี paper disc diffusion method พบว่า สารสกัดกระสังที่ทุกระดับความเข้มข้นมีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ได้ดี โดยมีวงใสในการยับยั้งเชื้อเท่ากับ 7, 8.5 และ 10 มิลลิเมตร ที่ระดับความเข้มข้น 10,000, 50,000 และ 100,000 ppm. ตามลำดับ เมื่อมาเตรียมผลิตภัณฑ์สบู่เหลวจากสารสกัดกระสังซึ่งประกอบด้วย สารสกัดกระสังที่ความเข้มข้น 100,000 ppm. 5 กรัม, Sodium Lauryl Ether Sulfate 100 กรัม, Sodium Chloride 25 กรัม, Cocamidopropyl betaine 6 กรัม, หัวมุก 5 กรัม, SILK 700 3 กรัม, น้ำกลั่น 500 กรัม และหัวเชื้อน้ำหอมกลิ่นกุหลาบ 1.5 มิลลิลิตร พบว่าสบู่เหลวมีเนื้อครีมละเอียดประกายมุข มีกลิ่นกุหลาบ ฟองไม่มากเกินไป จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ไปทดสอบความพึงพอใจของผู้อุปโภคจำนวน 50 คน พบว่าผู้อุปโภคมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 87.6 โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดด้านผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของผู้อุปโภค คิดเป็นร้อยละ 95.4 รองลงมาคือด้านล้างทำความสะอาดง่าย ความชัดเจนและรายละเอียดของคำเตือนบนฉลาก กลิ่นของผลิตภัณฑ์ความสะดวกของการพกพาผลิตภัณฑ์ ความสวยงามของผลิตภัณฑ์ การใช้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีสารสะสมส่วนมี คนรอบข้างสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง การปราศจากผลข้างเคียง และสภาพผิวเมื่อเปรียบเทียบก่อนใช้ คิดเป็นร้อยละ 94.6, 90.0, 85.4, 85.4, 85.4, 85.4, 85.4, 85.4, 84.6 และ 80 ตามลำดับ

Downloads