การปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาโดยใช้เชื้อราย่อยสลาย Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) และ Trichoderma harzianum (UPPY19)

Authors

  • นัทธพงศ์ ยะแสง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • บุญร่วม คิดค้า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาโดยใช้เชื้อราย่อยสลาย Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) และ Trichoderma harzianum (UPPY19) โดยเพิ่มปริมาณราย่อยสลายทั้ง 3 ชนิดในเมล็ดข้าวฟ่าง จากนั้นนำไปหมักผักตบชวาในอัตราส่วน 4 กิโลกรัม ต่อ 100 กิโลกรัม (ราย่อยสลายที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่างต่อผักตบชวา) นาน 60 วัน จากนั้นนำผักตบชวาหมักมาผสมกับวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ผักตบชวาหมัก แร่ลีโอนาไดท์ หินภูเขาไฟ มูลสุกร และมูลไก่ ในอัตราส่วนต่างๆ โดยมีทั้งหมด 8 กรรมวิธี และศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และปริมาณธาตุอาหารหลัก พบว่าสูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอัตราส่วน 4:1:1:2:2 มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสเฟตทั้งหมด และ ปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดสูงสุด เท่ากับ 1.51, 2.52 และ 3.27เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีลักษณะทางกายภาพ ทางเคมีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร โดยมีเปอร์เซ็นต์ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณอินทรียวัตถุ และอัตราคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 22.80เปอร์เซ็นต์, 7.05, 0.99 เดซิซีเมน/เมตร, 26.93 เปอร์เซ็นต์ และ 10.12 ตามลำดับ ซึ่งปุ๋ยหมักผักตบชวาโดยใช้เชื้อราย่อยสลายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางเกษตร เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มผลผลิตของพืช เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรต่อไป

Downloads