ประสิทธิภาพของการรมด้วยไอน้ำมันหอมระเหยโหระพา อบเชย ยูคาลิปตัส ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Aspergillus niger, Aspergillus flavus, และ Penicilium critinum ในดอกงิ้วแห้ง

Authors

  • บุษรินทร์ ท้วมแก้ว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • วาสนา พิทักษ์พล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

Abstract

ดอกงิ้วแห้งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการปรุงอาหาร เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงแค ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ แต่ปัญหาที่สำคัญคือดอกงิ้วแห้งที่ทำการเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานจะมีเชื้อราเกิดขึ้น ส่งผลทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารและไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำมันหอมระเหยต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราในดอกงิ้วแห้ง โดยทำการแยกเชื้อราที่พบมากในดอกงิ้วแห้ง 3 ชนิด คือ Aspergillus niger, Aspergillus flavus และ Penicilium critinum และทำการทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อราในระดับห้องปฏิบัติการโดยวิธีการรมไอระเหยของน้ำมันหอมระเหยโหระพา อบเชย และยูคาลิปตัส ที่ระดับความเข้มข้น 5 ระดับ คือ 0, 10, 50, 100 และ 200 ไมโครลิตร (ต่อจานทดลองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เซนติเมตร) พบว่า น้ำมันหอมระเหยโหระพาที่ระดับความเข้มข้น 50 ไมโครลิตร ขึ้นไป สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. niger และ A. flavus ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส โดยที่ระดับความเข้มข้น 100 ไมโครลิตร ขึ้นไปสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. niger และ A. flavus ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และน้ำมันหอมระเหยอบเชยที่ระดับความเข้มข้น 200 ไมโครลิตร ให้ผลในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. niger และ A. flavus ได้น้อยที่สุด โดยสามารถยับยั้งได้เพียง 63.34 และ 31.09 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. citrinum พบว่า น้ำมันหอมระเหยโหระพา อบเชย และยูคาลิปตัส ที่ระดับความเข้มข้น 200 ไมโครลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเชื้อราได้ 80.32, 67.14 และ 64.76 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Downloads