ารประเมินความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์

Authors

  • ภาวิณี เอี่ยมตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10200
  • สิทธา เจนศิริศักดิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34190
  • จิรวรรณ คล้ายลี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10200

Abstract

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศทั่วโลกได้เผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ ประชากร และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะจำนวนประชากรเมืองที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ปัญหาของเมืองที่เกิดขึ้นยากจะแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจราจรติดขัด (Chourabi et al. 2012) จึงทำให้เกิดความพยายามในการแก้ไขปัญหาของเมืองเพื่อลดกระทบที่เกิดขึ้นเรื่อยมา ทั้งนี้ พื้นที่ภาคตะวันออกมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศโดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางการอุตสาหกรรมและการขนส่ง ซึ่งถือเป็นระบบเศรษฐกิจหลักของประเทศในอนาคต และยังจัดเป็นภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ที่มีการผลิต และการจ้างงานที่จะหนุนเสริมให้พื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายใหญ่ ที่อยู่ในพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดยเน้นด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ รวมถึงโครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมใหม่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจอีกด้วย (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี, 2561) การศึกษาความคุ้มทุนของการใช้รถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยางหากมีการนำไปใช้จริงโดยการเปรียบเทียบระหว่างยานพาหนะทั้งสามรูปแบบ อันได้แก่ รถไฟฟ้าโทรลลีล้อยาง (Trolley) รถบัสไฟฟ้า (EV Bus) และรถบัสดีเซล (EURO-5 Bus) ทั้งในด้านของการบริหารจัดการ (Service Operation) และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (Economic feasibility) โดยผลการศึกษาที่คาดหวังจากการศึกษาครั้งนี้คือ การพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการนำนโยบายด้านการส่งเสริมการพัฒนารถเมล์ไฟฟ้าในประเทศไทย รูปแบบการพัฒนาและความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของการใช้รถเมล์ไฟฟ้าในประเทศไทย

Downloads